การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือเพื่อฝึกอบรมนายหมู่ลูกเสือ Developing Scout Leader Training Program for Scout Patrol Leader Training

ผู้แต่ง

  • บรววิทย์ เลิศไกร

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ผู้กำกับลูกเสือ นายหมู่ลูกเสือ, Developing training program Scout leader and Scout patrol Leader

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือเพื่อฝึกอบรมนายหมู่ลูกเสือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้กำกับลูกเสือที่ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 2 ท่อนในปี พ.ศ. 2549 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบทดสอบวัดความรู้และความสามารถ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test  ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 6 ขั้น ดังนี้  ขั้นที่ 1  การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 2 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นที่ 3 การตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตร ขั้นที่ 4 การปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม  ขั้นที่ 5 การนำหลักสูตรไปทดลองใช้  ขั้นที่ 6 การปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม

ผลการศึกษา หลักสูตรฝึกอบรมที่มีองค์ประกอบคือ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และการวัดและประเมินผล จำนวน 21 บทเรียน ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้กำกับลูกเสือ จำนวน 40 คน จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรม พบว่า หลังการฝึกอบรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านความสามารถของผู้เข้ารับการฝึกอบรมระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรม พบว่า หลังการฝึกอบรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ด้านเนื้อหารายวิชาเกือบทุกวิชา ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพอใจในระดับดี ยกเว้น วิชาการเป็นผู้นำ ซึ่งได้ระดับดีมาก ส่วนความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในด้านการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจในระดับดี ยกเว้น ด้านคุณภาพของที่พัก อยู่ในระดับปานกลาง และความพึงพอใจด้านวิทยากร ทุกด้านอยู่ในระดับดี

การปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม จากการนำหลักสูตรไปทดลองใช้ พบว่ามีบางบทเรียนที่ต้องนำมาปรับปรุง แต่ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกิจกรรม เนื้อหาและเวลา ที่ยังไม่สัมพันธ์กัน

ส่วนการนำหลักสูตรมาทดลองใช้ฝึกอบรมนายหมู่ลูกเสือในสถานศึกษาโดยมีลูกเสือ-เนตรนารีจำนวน 40 คน จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ของลูกเสือ-เนตรนารี ระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรม พบว่าหลังการฝึกอบรมลูกเสือ-เนตรนารี มีความรู้สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยได้หลักสูตรฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือเพื่อฝึกอบรมนายหมู่ลูกเสือ ที่สามารถนำไปในการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

The purpose of this research was to develop a scout leader training program for scout patrol leader training. This is a research and development study. The sample in this study were 40 scout leaders who received two beads in 2006. The instrument used for collecting the data was knowledge and ability test. The statistical device for  analyzing the data was t-test. The procedures consisted of six steps they were : Step 1: Studying and analyzing the database, Step 2: Designing the training program, Step 3: Checking the efficiency of program, Step 4: Improving the training program, Step 5: Implementing the training program, Step 6: Improving the training program.

The findings revealed that the training program consisted of 21 lessons divided into objectives, content, activities and evaluation. When comparing the average scores in the aspect of knowledge of 40 scout leaders, before and after joining the training, it was found that they gained  more knowledge and found significant difference at .05 level after the training. When comparing the average scores in the aspect of ability of the 40 scout leaders, before and after joining the training, it showed that their abilities were higher and found significant difference at .05 level after the training. When evaluating the satisfaction of joining the training in the aspect of contents, the scout leaders were satisfied with most of the contents at high level, except the content on leadership was at higher level. In the aspect of training, it showed that the scout leaders were satisfied at high level, except on the quality of accommodation where it was at moderate level. In the aspect of speaker, the scout leaders were satisfied at high level.

After implementing the program, it was found that some lessons needed to be revised because the activities, contents, and timing were not appropriate.

When comparing the average scores in the aspect of knowledge of 40 boy scouts and girl scouts, before and after joining the training, it was found that they gained more knowledge and found significant difference at .05 level after the training.

From the research findings the scout leader training program for scout patrol leader training. Finally, the curriculum should be applied for effective training program  for scout leaders.

Downloads

ฉบับ

บท

Original Articles