การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการรู้คำศัพท์วิชาการ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา เทาศิริ โรงเรียนอุบลวิทยาคม
  • กาญจนา นิลนวล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วัฒนพร จตุรานนท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • โสภี ชาญเชิงยุทธชัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, ภาษาอังกฤษ, การรู้คำศัพท์วิชาการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการรู้คำศัพท์วิชาการ ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 52 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน และครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำนวน 3 ท่าน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียน และ (2) แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหาของนักเรียนในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการรู้คำศัพท์วิชาการ อันดับสูงสุด คือ นักเรียนไม่กล้าอ่านออกเสียง เนื่องจากขาดความมั่นใจในการอ่าน ความต้องการในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียน อันดับสูงสุด คือ ต้องการฝึกทักษะการพูด โดยการถาม-ตอบจากบทสนทนา (2) สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการรู้คำศัพท์วิชาการ ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ คือ ครูมีปัญหาเกี่ยวกับการขาดความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และครูต้องการพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลงในการสอน

References

กนกวรรณ ดอนกวนเจ้า. (2565). การพัฒนาทักษะการพูดและการเรียนรู้คาศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิดีโอยูทูบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

นิตยา ภูดอนนาง, และ ทิพาพร สุจาร. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเพลง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 16(1), 117-130.

พัชรินทร์ จันที. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้ผ่านพอดคาสต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร].

พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิโต ครองบัวบาน. (2024). ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 English Learning Problems in the 21st Century. วารสารธรรมเพื่อชีวิต. 30(1), 43-57.

ปัณฑ์นพ ผจญทรพรรค, ณัฐวุฒิ โพธิ์ทักษิณ, และ นรินทร์ มุกมณี. (2021). ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษของคนไทย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 6(3), 911-920.

วิโรจน์ ปะรัมย์. (2561). ผลการใช้กิจกรรมเพลงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษและความรู้ด้านคำศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรีมย์].

Beck, I. L., McKeown, M. G., & Kucan, L. (2013). Bringing words to life: Robust vocabulary instruction. Guilford Press.

Beatty, K. (2013). Teaching & researching: Computer-assisted language learning. Routledge.

Colombo, M. (2011). Teaching English language learners: 43 strategies for successful K-8 classrooms. Sage Publications.

Echevarria, J., Vogt, M., & Short, D. (2008). Makinglearners: The SIOP model.

Khuvasanond, K. (2013). The effects of teacher vs student centered instructional strategies on the vocabulary learning of sixth grade Thai students [Doctoral dissertation, University of Kansas].

Read, C. (2008). 500 activities for the primary classroom (Vol. 62, No. 3, pp. 320-322). Oxford University Press.

Scott, J. A., Nagy, W. E., & Flinspach, S. L. (2008). More than merely words: Redefining vocabulary learning in a culturally and linguistically diverse society. What research has to say about vocabulary instruction, 182-210.

Stahl, S. A., & Nagy, W. E. (2007). Teaching word meanings. Routledge.

Zwiers, J. (2008). Building academic language: Essential practices for content classrooms, grades 5-12. John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024