รูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศ สำหรับเยาวชนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปัญญา อินทเจริญ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รังสฤษฏ์ จำเริญ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการกีฬา, กีฬาวอลเลย์บอล, กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ, นักกีฬาระดับเยาวชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศสำหรับเยาวชนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทย และประเมินความเป็นไปได้ต่อการนำรูปแบบไปใช้จริงโดยวิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คน ประกอบด้วยนักวิชาการด้านการจัดการกีฬา ผู้บริหารองค์กรกีฬาระดับชาติ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอลที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการ กีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศสำหรับเยาวชนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยโดยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ (Modified delphi technique) ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศสำหรับเยาวชนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ด้านคือ 1) องค์ประกอบด้านนโยบายได้แก่ นโยบายด้านส่งเสริมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และนโยบายด้านการส่งเสริมศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่า Mdn. เท่ากับ 5 และความสอดคล้องในระดับสูง ค่า I.R ระหว่าง 0.00-0.25) และ 2) องค์ประกอบทางการบริหารจัดการ ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์กร ด้านการปฏิบัติการ/การนำ และด้านการควบคุม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่า Mdn. ระหว่าง 4.00-5.00 และความสอดคล้องในระดับสูงค่า I.R ระหว่าง 0.00-1.00) การวิจัยระยะที่ 2 เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเลิศไปใช้จริง โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนำรูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศสำหรับเยาวชนไปใช้จริง จำนวน 9 คน พบว่า รูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิมีความเหมาะสม ถูกต้องครอบคลุมเป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). (ร่าง) แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2565-พ.ศ. 2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ฉัตรชัย สุขสันต์. (2561). การพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยบูรพา [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

ปัญญา อินทเจริญ, นภพร ทัศนัยนา, รังสฤษฏ์ จำเริญ, และ ไพโรจน์ สว่างไพร. (2564). แนวทางการจัดการในการเตรียมทีมวอลเลย์บอลเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งปะเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติ, 13(1), 100-110.

ประชุม รอดประเสริฐ. (2543). นโยบายและการวางแผน: หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: เนติกรการพิมพ์.

บงกช จันทร์สุขวงค์, และ ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ. (2563). แนวทางการจัดการโรงเรียนกีฬาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3), 337-350.

มงคลชัย บุญแก้ว. (2555). รูปแบบแผนที่ผลลัพธ์การพัฒนานักกีฬาว่ายน้ำสู่ความเป็นเลิศในสถาบันการศึกษา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 12(1), 103-116.

รัชนี ขวัญบุญจัน. (2547). การจัดทำแผนการพัฒนาการกีฬาสู่ความเป็นเลิศ รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย.

รัตนาภรณ์ ทรงพระนาม. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาฮ้อกกี้สู่ความเป็นเลิศ [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจาเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2555). การจัดการ: มุมมองนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักดิ์ชาย พิทักษ์วงศ์, และ โกศล มีคุณ. (2551). การจัดทาระบบการพัฒนากีฬาเป็นเลิศ: รูปแบบ (Model) การพัฒนากีฬาเป็นเลิศ. ชลบุรี: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัษ แสนภักดี. (2558). รูปแบบของปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

Dessler, G. (1998). Human Resource Management. New Jersey: Prentice Hall.

De Bosscher, V., De Knop, P., Van Bottenburg, M, & Shibli, S. (2006). A conceptual framework for analyzing sports policy factors leading to international sporting success. European Sport Management Quarterly, 6(2), 185-215.

Goff, B. (2000). Effects of University athletics on the University; A review and extension of empirical assessment. Journal of Sport Management, 14(2), 85-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024