คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1

ผู้แต่ง

  • ศศิธร พิมพ์แก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, ผู้บริหารสถานศึกษา, การปฏิบัติงานของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 2) ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูและ 4) ศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครู จำนวน 288 คนซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนตามขนาดของโรงเรียน ประกอบด้วยผู้บริหาร 12 คน และครู 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.982 โดยผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมาก เท่ากับ .880 และ 4) คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ด้านบุคลิกภาพ และด้านภ าวะผู้นำร่วมกันพยากรณ์แปรปรวนของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ณรงค์ชัย บุญประเสริฐ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 [ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี].

ธนวัฒน์ สายนภา. (2559). คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของโรงเรียนในอำเภอบ่อไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด [วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

ธีรภัทร พรมนอก. (2560). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์].

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุษบา คำนนท์. (2559). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ในทัศนะของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

ปทุมรัตน์ สีธูป. (2560). การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์].

พรชัย เจดามาน. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยใช้หัวใจและมันสมอง. กรุงเทพมหานคร: สูตรไพศาล.

เมธาพร เชื้อหอม. (2557). แบบบรรยากาศองค์การในโรงเรียน ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์].

ศุภมาส วิสัชนาม. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี].

สุดาวรรณ เต็มเปี่ยม. (2553). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2 [งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing. New York: Harper & Row.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024