การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล ตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การบริหาร, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัลตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษา ขอบเขตของการวิจัย 5 ด้าน โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 37 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 1,075 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 278 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s multiple comparison method) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีทัศนะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่มีประสบการณ์การทำงาน และปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีทัศนะโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01
References
จันทร์ฉาย ไทยรัตน์. (2561). การบริหารและการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่ดีของนักเรียนโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย [การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย].
ณัฐนียา ห้องกระจก. (2562). แนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCA ของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา].
ณัฐพรรณ แสงน้ำผึ้ง. (2562). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์].
ทิพย์วิมล เสือไว. (2565). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(9), 53-65.
ธัญมาศ นิยมญาติ. (2565). การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารนวัตกรรมการบริหารและจัดการ,10(1), 97-104.
บุญยิ่ง พรมจารีย์. (2560). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี].
ปรียาภัทร ศรีไกร. (2565). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุค NEW NORMAL ของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 3 เมืองศรีภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร. วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 2(3), 1-12.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก.
พิมพ์พร เปรมหิรัญ. (2560). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
พัชริภา ศรลัมภ์, และ รัตนา กาญจนพันธุ์. (2565). การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มโรงเรียนเมืองบางปู จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1.
ฤทธิ์ธิชัย ภู่สำอางค์. (2563). แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา].
ศุภกร รัตนวงษ์. (2565). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี].
สุนทร โครพ. (2563). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอ่างทอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา].
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อขอรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจาปี 2566. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
อรวรรณ ล่องลือฤทธิ์. (2563). คู่มือการปฏิบัติงานพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. ชุมพร: กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th Ed.). New York: Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา