การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • นภกานด์ หน่ายคอน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • อภิรดี ศรีภิรมย์รักษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • นิชานันท์ อุดมศักดิ์สกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • พันธ์ทิพย์ โอฬารรัตน์มณี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน, การจัดการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐาน, ทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้และความคิดเห็นในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาชีววิทยาประยุกต์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์2) แบบประเมินโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 4)แบบสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า โครงงานที่ใช้ชุมชนเป็นฐานของนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับดี (µ=4.17, σ=0.33) นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คะแนนเฉลี่ยโดยรวมในทุกด้านอยู่ในระดับดี (µ=4.50, σ=0.29) โดยมีนักศึกษาร้อยละ 52.38 มีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับดีมาก และความคิดเห็นในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (µ=4.55, σ=0.25)

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช, และ เกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ คงเจริญ. (2563). วิธีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกียรติศักดิ์ สีสมุทร, และ พินันทา ฉัตรวัฒนา. (2566). รูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานโดยใช้การคิดเชิงออกแบบสำหรับนวัตกรในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิศวกรรมศึกษา, 14(1), 23-32.

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน, จิตตยา สมบูรณ์มากทรัพย์, สาธิตา สิริโรจนงาม, ชิสาพัชร์ ชูทอง, วีรนุช คฤหานนท์, สมศักดิ์ ก๋าทอง, และ ศรีไพร กุณา. (2565). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้บริบทชุมชนเป็นฐานสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ในอำเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (URU-J.ISD 257629), 12(2), 1-18.

ธันยนันท์ ศรีพันธ์ลม, กุลธิดา นุกูลธรรม, และ นันทรัตน์ เครืออินทร์. (2562). การเรียนรู้แบบโครงงานที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในรายวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 10(2), 216-230.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : บทสะท้อนจากประสบการณ์และการเรียนรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 2(3), 78-85.

นูริน ดือเร๊ะ. (2564). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานกับพัฒนาการการเรียนรู้ ในรายวิชาตัวแบบสถิติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(1), 65-76.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง, อรพิณ ศิริสัมพันธ์, ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์ และ วิลาพัณย์ อุรบุญนวลชาติ. (2564). ปรับกระบวนทัศน์ : การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมทักษะสำคัญของผู้เรียนยุคประเทศไทย 4.0. ครุศาสตร์สาร, 15(2), 16-30.

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), 179-191.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2562). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2565). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัญชลี ทองเอม. (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 185-199.

Arantes do Amaral, J.A., & Lino dos Santos, R.J.R. (2018). Combining Project-Based Learning and Community-Based Research in a Research Methodology Course: The Lessons Learned. International Journal of Instruction, 11(1), 47-60.

Martinez, C. (2022). Developing 21st century teaching skills: A case study of teaching andlearning through project-based curriculum. Cogent Education, 9(1), 1-16. https://doi.org/10.1080/2331186X.2021.2024936

Miller, E.C. & Krajcik, J.S. (2019). Promoting deep learning through project-based learning: a design problem. Disciplinary and Interdisciplinary Science Education Research, 7(1), 1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024