การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางโดยการใช้ผังมโนทัศน์สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คำสำคัญ:
ทักษะการอ่าน, ผังมโนทัศน์, ภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการอ่านโดยใช้ผังมโนทัศน์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชา 415-321 การอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลาง โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์ จำนวน 4 แผน และบทอ่าน 4 เรื่อง 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางโดยใช้ผังมโนทัศน์ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนรู้การอ่านโดยใช้ผังมโนทัศน์ แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 17 ข้อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที
แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์ เท่ากับ 10.22 เปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์เท่ากับ 11.33 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการใช้ผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาญี่ปุ่นในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (=3.94, S.D.= 0.44) โดยข้อคิดเห็นที่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมการอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกการอ่านด้วยตัวเองมากขึ้น กิจกรรมการอ่านโดยการใช้ผังมโนทัศน์ทำให้ผู้เรียนรู้ถึงประโยชน์ของการใช้ผังมโนทัศน์และการใช้ผังมโนทัศน์ทำให้ผู้เรียนวิเคราะห์และเข้าใจประเด็นต่าง ๆ ในเนื้อเรื่องได้อย่างชัดเจนขึ้น ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการอ่านโดยการใช้ผังมโนทัศน์ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางของผู้เรียนได้
References
จุฑารัตน์ พิมพ์ไทยสง. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เตวิช เสวตไอยาราม. (2551). การใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กรณีศึกษาผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่มีความสามารถแตกต่างกัน. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรณ์, 42(2), 263-278.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน. องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภสินธุ์ แผลงศร. (2550). เทคนิคและวิธีสอนทักษะการอ่านภาษาญี่ปุ่นในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสาร เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ, (4), 191-202.
นาทพงศ์ หนูสวัสดิ์. (2560). เปิดประเด็น:พัฒนาการรู้เรื่องการอ่านอย่างไรให้สำเร็จ. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 252-263.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอส.พริ้นติ้งไทย แฟคตอรี.
แพรไหม คําดวง. (2562). การสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สําหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มัณฑนา สุขสงค์. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและความคงทนในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น โดยการจัดกิจกรรมการอ่านแบบ DR-TA สาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรวรรณ สุขสวัสดิ์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้ผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข. (2561). ประสิทธิผลของกิจกรรมการอ่านร่วมกันกับเพื่อนในวิชาการอ่านภาษาญี่ปุ่น. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 35(2), 68-81.
สุนิตรา สะทองอ้าย, และ สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์. (2562). ผลของการใช้เทคนิคการสอนด้วยผังมโนทัศน์ในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(31), 209-220.
เสาวลักษณ์ รัตนวิทย์. (2550). การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา:กลยุทธ์สู่ความสาเร็จในการพัฒนาการรู้หนังสือเพื่อปวงชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโรตารี่แห่งประเทศไทย
อนุรักษ์ นวลศรี, และ อ้อมธจิต แป้นศรี. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสําคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. Journal of Modern Learning Development, 7(5), 284-300.
อลงกรณ์ สิมลา (2561).การใช้แผนผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อลงกรณ์ สิมลา, และ รินทร์ ชีพอารนัย. (2561). การใช้แผนผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสาร Veridian E Journal, 11(3), 1348-1361.
ไอลดา ลิบลับ. (2557). การใช้กลวิธีผังมโนทัศน์ในการสอนการอ่านภาษาญี่ปุ่น: กรณีศึกษาผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นชาวไทย. [วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไอลดา ลิบลับ. (2558). การใช้กลวิธีผังมโนทัศน์ในการสอนการอ่านภาษาญี่ปุ่น: กรณีศึกษาผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นชาวไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(1), 262-270.
Ishiguro Kei. (2012). 読解とその教え方を考える.国際交流基金バンコク日本文化センター 日本語教育紀要 (9), 1-18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา