ผลการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของเด็กอนุบาลโดยใช้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
คำสำคัญ:
ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม, การจัดประสบการณ์การเรียนรู้, สะเต็มศึกษา, เด็กอนุบาลบทคัดย่อ
งานวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของเด็กอนุบาลก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอนุบาล อายุ 5-6 ปี โรงเรียนวัฒนานุศาสน์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และแบบประเมินทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของเด็กอนุบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า (1) เด็กอนุบาลมีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมก่อนการทดลองอยู่ในระดับควรส่งเสริม หลังการทดลองอยู่ในระดับดี และ (2) เด็กอนุบาลมีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของเด็กอนุบาลได้References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นโยบายและจุดเน้นการปฏิรูปการศึกษาปีงบประมาณ2563. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564. เข้าถึงได้จาก www.moe.go.th
กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์. (2562). การใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างนิยม (Constructivism). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(3), 1-13.
ตะวัน เทวอักษร. (2556). ทักษะการคิดพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาการศึกษาไทย. การพัฒนาทักษะการคิด, 5(13), 4.
พัทฐรินทร์ โลหา และ สิรินาถ จงกลกลาง. (2562). การพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสารราชพฤกษ์, 17(1),121-126
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร , 33(2)
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพับบลิเคชัน.
ศิริเพ็ญ กิจกระจ่าง และสุภัทรา คงเรือง. (2563). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(2), 155-167.
ศุภิสรา ฉิมนอก. (2562). การศึกษาผลการเรียนรู้และการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จากการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสารราชพฤกษ์, 18(1), 93-102.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). กรอบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย . กรุงเทพมหานคร: โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์).
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2574กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2558). รายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
สุธิดา การมี. (2560). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา. นิตยาสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 46 (209), 23-27.
สุพัชรี ผุดผ่อง. (2553). เสริมความคิดสร้างสรรค์ผ่านทักษะการคิด. วารสารทางการศึกษาสำหรับครูและผู้ปกครอง, 7(2), 10-12.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยาสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42 (186), 3-5.
สุมินตรา จีนเมือง และ ธิติยา บงกช. (2563). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเรื่อง เสียง เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(1), 1-59
สุรเชษฐ์ ไชยอุปละ. (2559). ความคิดสร้างสรรค์กับกระบวนการเทคโนโลยี. เอกสารประกอบ การประชุมเสวนาวิชาการเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบและเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร.
อรชร ปราจันทร์. (2560). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. หลักสูตรดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Amanda, S. (2015). Robotics in the early childhood classroom: Learning outcomes from an 8-week robotics curriculum in pre-kindergarten through second grade. Retrieved August 20, 2020 from https://www.linkedin.com/in/amanda sullivan-3b11a712.
Dyer, J. H., Gregersen, H. B., & Christensen, C. M. (2011). The inovator's DNA: Mastering the five skills of disruptive innovators. Boston, MA: Harvard Business Press.
Ricks, E. D. (2012). Cultivating early STEM learners: An analysis of mastery classroom instructional practices, motivation, and mathematics achievement in young children. Doctoral dissertation, Howard University.
Swallow, E. (2012). Can innovative thinking be learned. Forbes, 6(3), 1-2.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา