การใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษา โปรแกรมวิชาการสอนภาษาจีน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
คำสำคัญ:
กิจกรรมบทบาทสมมุติ, การสอนภาษาจีน, ทักษะการพูดภาษาจีน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีนก่อนและหลังเรียนโดยการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โปรแกรมวิชาการสอนภาษาจีน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการฟังและการพูดภาษาจีน 2 (รหัสวิชา TCN1202) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ด้วยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม ได้หมู่เรียนที่ 1 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาจีนก่อนและหลังเรียนการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) ผลวิจัยพบว่า
1.แผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.33/88.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2.ทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
ชัยยงค์ พรหมวงค์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาวิจัย. ปีที่ 5ฉบับที่ 1(มกราคม – มิถุนายน 2556)
ทิศนา แขมมณี. , (2519). การใช้บทบาทสมมติในการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2552) . รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย . กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551) .วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9199 เทคนิคพริ้นติ้งนิทาน.
ปิยจิตร สังข์พานิช. (2560) .การพัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมติสำหรับนักศึกษาวิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ.วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ. 40(134), 41-54.
อัญชลิการ์ ขันติ. (2562). ศึกษาศาสตร์สาร. พิมพ์ครั้งที่ 1 . เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฮวาน ฮวาน หม่า, ชมพูนุท เมฆ เมืองทอง, นิรุต ถึงนาค. (2019). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติ. Chophayom Journal, 30(2), 143-153.
Werth, M. (2018). Role-play in the Chinese Classroom.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา