กระบวนทัศน์การพัฒนาหลักสูตรเชิงสร้างสรรค์องค์ความรู้ในวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อรองรับ โครงการเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, สรรค์สร้างองค์ความรู้, สังคมศึกษา, ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, มัธยมศึกษาตอนปลายบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อรองรับโครงการเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) อาศัยกระบวนทัศน์การพัฒนาหลักสูตรของเชิงสรรค์สร้างองค์ความรู้ เพื่อทบทวนและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการทางกฎหมาย แผนงาน และนโยบาย และโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่ส่งผลกระทบต่อความคาดหวังในตัวผู้เรียนศูนย์กลางการเรียนรู้ และข้อเสนอการพัฒนาหลักสูตรวิชาสังคมศึกษาตัวชี้วัดและเนื้อหาสาระแกนกลางและการออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลสัมฤทธิ์ที่เหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการศึกษา วิเคราะห์ และตีความ เอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมาย แผนงาน นโยบาย หลักสูตร และแนวคิดต่างๆ
จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย แผนงาน และนโยบาย พบว่า ควรปรับเปลี่ยนหลักสูตรจากเดิมเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ด้านองค์ความรู้ ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง กฎหมาย นโยบาย เศรษฐกิจ สังคม ภูมิศาสตร์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นในเชิงพื้นที่ ฯลฯ ในลักษณะเดียวกันกับแผนการศึกษาเดิม ในด้านทักษะ พบว่า ผู้เรียนจำเป็นต้องมีทักษะที่จำเป็นต่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ไขปัญหา การเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้านคุณลักษณะที่คาดหวัง พบว่า ต้องการให้นักเรียนเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึกรักษ์ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หวงแหนวัฒนธรรม ภูมิปัญหาท้องถิ่นและของชาติ และสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้
ข้อเสนอด้านตัวชี้วัดและเนื้อหาสาระแกนกลาง ที่ควรเพิ่มเติมจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง พ.ศ. 2551 มีความสอดคล้องกับ 4 สาระเดิม ประกอบด้วย (1) หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม เช่น ความรู้และการวิเคราะห์ด้านการเมือง โครงสร้างการบริหารจัดการพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก สิทธิมนุษยชน เป็นต้น (2) เศรษฐศาสตร์ เช่น วิเคราะห์ความสำคัญทางเศรษฐกิจของพื้นที่เชื่อมโยงในระดับและจุลภาค (Micro) การใช้นโยบายการคลังผ่านการลงทุนของภาครัฐ และความร่วมมือกับภาคเอกชน เป็นต้น (3) ประวัติศาสตร์ เช่น ผู้เรียนสามารถอธิบายและเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของโลก ภูมิภาค อนุภูมิภาคและสู่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และ (4) ภูมิศาสตร์ เช่น อิทธิพลต่อทางภูมิศาสตร์ที่ก่อให้เกิดความสำคัญของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกทั้งจากการแข่งขันระดับโลกและภูมิภาค ขณะเดียวกันต้องตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมหรือให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเชิงรูปธรรมได้ และประยุกต์ใช้มุมมองการพัฒนาที่ยั่งยืนและสิทธิชุมชนได้ เป็นต้น ทั้งนี้ การบริหารจัดการหลักสูตรควรใช้
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลสัมฤทธิ์ ควรให้ครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก เน้นจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนา (Seminar) ในชั้นเรียน เพื่อให้เกิดกระบวยการอภิปราย วิเคราะห์ สังเคราะห์ และตกผลึกทางความคิด ระดมภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ประชาชนเข้ามาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนกับผู้เรียน ส่วนการชี้วัดและประเมินผลควรหลีกเลี่ยงรูปแบบการสอบวัดองค์ความรู้ แต่มุ่งเน้นกิจกรรมกระบวนการกลุ่ม การจัดทำรายงานส่วนบุคคล และมีการประเมินทั้งองค์ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะไปด้วยกัน
References
ณัฐพล แจ้งอักษร. (2557). อิทธิพลการรับรู้ความสามารถของตนเองที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเป็นครูของนักศึกษาครู : การวิเคราะห์โค้งพัฒนาการเชิงสาเหตุที่มีตัวแปรแบบเหลื่อมเวลาไขว้ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา สาขาวิชาวิธี วิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cole, PM; Michel, MK; Teti, LO (1994). "The development of emotion regulation and dysregulation: A clinical perspective" (PDF). Monographs of the Society for Research in Child Development. Wiley-Blackwell. 59: 73–100.
Hiemstra, R. (1994). "Self-directed Learning". The International Encyclopedia of d Education. 2 ed exeter. Great Britain: BPC Wheatons.
Knowles, M. (1975). Self-Directed Learning: a Guide for Learners and Teacher New York Association Press.
Taba, H. (1978). Curriculum development theory and practice. New York: Harcourt, Washington, Ohio: Jones.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (ม.ป.ป.). วิเคราะห์ 5 ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการศึกษาไทย. ออนไลน์ http://www.kriengsak.com/node/1040.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสันติสุข พ.ศ. 2548-2551” .สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (เอกสารอัดสำเนา)
ทิฎิ์ภัทรา สุดแก้ว. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560 – 2564). (เอกสารอัดสำเนา)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2560). 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (NEW ENGINE OF GROWTH). จัดทำโดย กลุ่มประชาสัมพันธ์และบริการห้องสมุด สำนักบริหารกลางสำงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนปฏิบัติราชการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของกระทรวงศึกษาธิการ. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (เอกสารอัดสำเนา)
กฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา