การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมสองภาษา

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย สมนวล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, โปรแกรมสองภาษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมสองภาษา ตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) 4 ด้านได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทางด้านหลักสูตรและการสอน ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โปรแกรมสองภาษา ปีการศึกษา 2559 รวม 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ผลประเมินด้านบริบท ได้แก่ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหารายวิชา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 11, SD = 0.61) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  2. 2. ผลประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ และงบประมาณ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 16, SD = 0.76) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  3. 3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และการบริหารหลักสูตร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 17, SD = 0.74) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
  4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ได้แก่ ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรและคุณภาพผู้เรียนทางด้านภาษาอังกฤษ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 3.92, SD = 0.87) ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
กลิ่น สระทองเนียม. (2559). ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ. [ออนไลน์]. ได้จาก : https://www.dailynews.co.th/education/381296. [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560].
กุลวรินทร์ ญานประภาส (2555). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการ
บริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จรรยา ดาสา, ณสวรรค์ ผลโภค, ธีรพงศ์ แสวงประดิษฐ์ และสมปรารถนา วงศ์บุญหนัก. (2553). รายงานการ วิจัยเรื่อง “การประเมินและติดตามผลหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา (แผน ข.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นจำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. การวัดผลการศึกษา มศว. มหาสารคาม, 3(1), 22-25.
สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Stufflebeam, D. L. et al. (1971). Educational evaluation and division making. Itasca, IIT: Peacock

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-12-2021