การพัฒนาแบบวัดการรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) แบบพหุมิติของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยประยุกต์ใช้โมเดลเชิงโครงสร้าง
คำสำคัญ:
การรู้ดิจิทัล, โมเดลพหุมิติสัมประสิทธิ์การสุ่มแบบโลจิท, โมเดลเชิงโครงสร้างบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบการประเมินการรู้ดิจิทัล และเพื่อสร้างและวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดการรู้ดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโรงเรียนในสังกัด สพม. เขต 6 จำนวน 100 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบวัดการรู้ดิจิทัลแบบพหุมิติ วิเคราะห์ข้อมูลตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบโดยใช้โมเดลพหุมิติสัมประสิทธิ์การสุ่มแบบโลจิท (MRCML)
ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบการประเมินการรู้ดิจิทัลมี 3 มิติ ประกอบด้วย มิติทางพุทธิพิสัย 5 ระดับ มิติทางเทคนิค 5 ระดับ และมิติทางสังคมและอารมณ์ 5 ระดับ 2) แบบวัดการรู้ดิจิทัล มีทั้งหมด 12 ข้อ ประกอบด้วย มิติทางพุทธิพิสัย 4 ข้อ มิติทางเทคนิค 4 ข้อ และมิติทางสังคมและอารมณ์ 4 ข้อ โดยแบบวัดมีความเที่ยงตรงด้านเนื้อหาของรายการประเมิน และความเที่ยงตรงด้านกระบวนการตอบ ค่าความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในมีค่าเท่ากับ 0.89 ค่าความเชื่อมั่นแบบวัด EAP ในมิติทางพุทธิพิสัย มิติทางเทคนิค และมิติทางสังคมและอารมณ์ มีค่าเท่ากับ 0.89 0.88 และ 0.75 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ แบบวัดมีค่าความยาก อยู่ระหว่าง -1.28 ถึง 0.83 ค่าอำนาจจำแนกตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมมีค่าอยู่ระหว่าง 0.29 ถึง 0.77 ระดับค่าสถิติความเหมาะสมรายข้อ Weight Fit มีค่าอยู่ระหว่าง 0.72 ถึง 1.25 ข้อสอบมีความเหมาะสมสำหรับโครงสร้างการวัด และมีความสัมพันธ์ตามโมเดล MRCML อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมิติทางพุทธิพิสัยกับมิติทางเทคนิค เท่ากับ 0.97 มิติทางพุทธิพิสัยกับมิติทางสังคมและอารมณ์ เท่ากับ 0.88 และมิติทางเทคนิคกับมิติทางสังคมและอารมณ์ เท่ากับ 0.79 ซึ่งมีค่าอยู่ในระดับสูงมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: 33-119.
ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2552). การวิเคราะห์พหุมิติ (Multidimensional Analysis). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(4). 13-22.
ณัชชา กมล. (2558) กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์การคิดเชิงคณิตศาสตร์ SOLO MODEL: A FRAMEWORK FOR ANALYZING MATHEMATICAL THINKING วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 7(14): 218-227.
ธิดา แซ่ชั้น. (2559) การรู้ดิจิทัล: นิยาม องค์ประกอบ และสถานการณ์ในปัจจุบัน. สารสนเทศศาสตร์, 34(4): 116-145.
บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ,. (2560). ความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบในการประเมินระดับชาติกับข้อสอบในการ ประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: การประยุกต์ใช้โมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช และทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พักตร์วิภา โพธิ์ศรี. (2561). บทบาทการศึกษาต่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 14(2):15.
พัชรี จันทร์เพ็ง. (2561). การประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติเพื่อการวิจัย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
แววตา เตชาทวีวรรณ และอัจฉรา ประเสริฐสิน. (2559). การพัฒนาแบบวัดการรู้ดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตต์ฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่:การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 แปลจากเรื่อง 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. กรุงเทพฯ: openworlds.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาดา สกลกิจรุ่งโรจน์. (2558). การประยุกต์โมเดลการตอบสนองข้อสอบในการพัฒนามาตรวัดความสุขของคนไทย: การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2560. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
อัญญรัตน์ นาเมือง. (2553). การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2(2):112-121.
Adams, R., Wilson, M., and Wang, W. (1997). The multidimensional random coefficients multinomial logit model. Applied Psychological Measurement, 21, 1-23.
Allen, D.D., & Wilson, M. (2006). Introducing multidimensional item response modeling in the behavioral sciences. Health Education Research Theory & Practice [Online]. Available from: http://her.oxfordjournals.org/cgi/reprint/cy1086v2 [2007, October 12].
Elisabetta Cherchi & Cristian Angelo Guevara. (2012). A Monte Carlo experiment to analyze the curse of dimensionality in estimating random coefficients models with a full variance-covariance matrix. Transportation Research Part B, 46(2012), 321-332.
Hobbs, R. (2010). Digital and media literacy: A plan of action (knight commission on the information needs of communities in a democracy). Washington, DC: Aspen Institute & Knight Foundation.
Ng, W. (2012). Can we teach digital natives digital literacy?. Computers & Education,59(3), 1065-1078.
Marco Gui & Gianluca Argentin. (2007) The digital skills of Internet-natives The role of ascriptive differences in the possession of different forms of digital literacy in a random sample of northern Italian high school students. University of Milano-Bicocca.
OECD. (2016). PISA 2015 assessment and analytical framework: Science, reading, mathematics and financial literacy. Paris: OECD Publishing.
Purya Baghaei & Riidiger Grotjahn. (2014). Establishing the construct validity of conversational C-Test using a multidimensional Rasch model. Psychological Test and Assessment Modeling, 56(1), 60-82.
Wilson, M., and Hoskens, M. (2005). Multidimensional item response: Multimethod/ Multitrait perspective. In S. Alagumalai, D.D. Curtis, and N. Hungi (eds.) pp.287-307. Applied rasch measurement: A book off exemplars papers in honour of John P.Keeves. Netherlands: Springer.
Wright, B.D., & Masters, G.N. (1982). Rating scale analysis. Chicago,IL: MESA Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา