เทคนิคการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นพลเมือง

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ดา ทองโสภณ โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, ประวัติศาสตร์, สมรรถนะ, พลเมือง

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ กระบวนการ คุณลักษณะและสมรรถนะที่สามารถนำไปใช้ในวิถีชีวิตได้ บทความนี้เป็นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และพัฒนาแนวคิดในการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และสังคมแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งเสริมสร้างสมรรถนะของความเป็นพลเมือง และ คุณลักษณะของการเป็นพลเมืองที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน  บทความนี้นำเสนอความรู้เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของสมรรถนะ  แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับพลเมือง  ความหมายและความสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์  หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์  และเทคนิคการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะพลเมือง 3 แนวทาง คือ 1. วิธีการสอนโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method)  2. การจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนา Growth mindset 3. การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-based learning)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวทางการนำมาตรฐานหลักสูตรไปสู่การออกแบบการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ.
เฉลิม นิติเขตต์ปรีชา. (2545). เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์. กรุงเทพ : ไทยวัฒนาพานิช.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). สอนประวัติศาสตร์ ให้เด็กมีความสุข สนุกคิด. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2546). การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ภาคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2548). แนวคิดว่าด้วยความเป็นพลเมือง. สถาบันพระปกเกล้า : คลังวิชา.
วันเพ็ญ วรรณโกมล. (2544). การพัฒนาการสอนสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏธนบุรี.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การเรียนเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพ : จรัสนิทวงศ์การพิมพ์.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2563, 3 พฤศจิกายน). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน CBL ตอนที่ 1, สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2564 จาก https://www.youtube.com/watch?v=2kAPQYEQ6L8.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2563, 3 พฤศจิกายน). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน CBL ตอนที่ 4, สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2564 จาก https://www.youtube.com/watch?v=kkRRHL35Ric.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2554). ยุทธศาสตร์การจัดการการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองและพลโลกในศตวรรษที่ 21.Paper presented at the การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ. : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์. กรุงเทพ. : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่จำกัด.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2539). เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนสังคมศึกษา. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้วยมนุษย์ Competency. กรุงเทพ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด มหาชน.
อิทธิเดช น้อยไม้. (2560). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. กรุงเทพ : บริษัท โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าล์.
Boyatzis. (1982). Competence at work. In A. Stewart (Ed), Motivation and society.(p.58).San Francisco: Jossey-Bass
Hildrew, C. (2018). Becoming Mindset School: The Powerful of Mindset to Transform Teaching, Leadership and Learning. New York, NY: Routledge
McClelland. (1975). A Competency model for human resource management specialists to be used in the delivery of the human resource
management cycle. Boston: Mcber.Isin, bryan S. Turner (ed). Princeton University
Silver, D. & Stafford, D. (2017). Teaching Kids to Thrive: Essential Skills for Success. Thousand Oaks, CA: A SAGE Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-12-2021