การพัฒนาชุดการสอนแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์ โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ชุดการสอน, Active learning, SQ3R, การอ่านจับใจความ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการสอนแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการสอนการอ่านจับใจความแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มจำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 29 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และหาดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I.)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอนแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.85/82.53 2) ชุดการสอนแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ .69 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนการอ่านจับใจความแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กัมพล เจริญรักษ์. (2560). Active learning สู่ไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการ. 20(4), 18-33.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2555). สอนภาษาไทยอย่างไรให้บูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2560 จาก https://www.gotoknow.org/posts/501568
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1(ม.ค.-มิ.ย. 2556)), 5-20.
บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เผชิญ กิจระการ. (2546) เอกสารประกอบการสอนเรื่องดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เยาวลักษณ์ สาระโน. (2551) การใช้ชุดการสอนนิทานเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
บ้านห้วยไคร้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
รสสุคนธ์ มากเอียด. (2558). การใช้ชุดการสอนพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
วราภรณ์ สัตบุตร. (2554). การสร้างชุดการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้ภาษาพม่า
เป็นภาษาแรก: กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านน้ำตก อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง จังหวัดระนอง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วิทยา พัฒนเมธาดา. (2562). Active Learning : Passive Learning. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563 จาก http://www.kansuksa.com/159/?
fbclid=IwAR2eqDyYmZJqscZLIEsyFTEc6zPH25fc_8STPf3dJTeCE18IDxC1dQmAzDY
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2563 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน...เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 6(2), 5.
สมพงษ์ จิตระดับ. (2562). เกิดอะไรขึ้นกับการศึกษาไทยเมื่อผลสอบ ‘PISA’ เด็กไทยไม่ถึงค่าเฉลี่ย. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2563 จาก
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/857279
Gagne, R.M. (1985). The condition of learning. New York: Holt, Rinehart & Winston.
Ibironke, E. S. (2018). Expert’s Rating and Student’s Perception of Interactive Multimedia Instructional Package Effectiveness on Selected
Educational Technology Concepts in Kwara State. Retrieved from: https://ijitie.aitie.org.ng/index.php/ijitie/article/view/92
Lall, G.R., & Lall, B.m. (1983). Ways children learn. Illinois: Charles C.Thomas.
Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archieves Psychological. 3(1), 42-48.
Nash, R. J. (2010). The Active Classroom field book: success stories from the active classroom. California: A SAGE Company.
Nutta, J., Bautista, N.U., & Butler, M. B. (2011). Teaching Science to English Language Learners. New York: Routledge.
Robinson, F.P. (1961). Effective Study. New York: Harper and Brothers.
Sims, R. (2014). Design Alchemy: Transforming the way we think about learning and teaching. New York: Springer.
Srisurak, P., Silanoi, L. & Namprama, P. (2015.) The Effect of Training Package Development for Secondary School Students in Thailand Toward
ASEAN Community. Sociology Study, 5(4), 262-268.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2021