การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกวิชาฟิสิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อ เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • เกริก ศักดิ์สุภาพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม)

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, ทักษะการแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกวิชาฟิสิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โดยใช้แบบแผนการวิจัยที่มีกลุ่มควบคุมและทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-Posttest Control Group Design)  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563  ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 35 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ที่มีการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t  ผลการวิจัย พบว่า

  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกวิชาฟิสิกส์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ จัดเตรียมความพร้อม ร่วมพิจารณาปัญหา วิเคราะห์วางแผนแก้ปัญหา นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
  1. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: ชุมนุม
สหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย.
จุไรรัตน์ สอนสีดา. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์
ปัญหาตามเทคนิคของโพลยาที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal.
10(3), 407-423.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพ ฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมนเนจเม้นท์.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง .
ประมวล ศิริผันแก้ว. (2541). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้.
นิตยสาร สสวท. 26(103), 8-11.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรี ศรีสังข์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์
เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ
5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธีสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2552). จากหลักสูตตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา : กระบวน
ทัศน์ใหม่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษ
ที่ 21. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุวิทย์ มูลคำ; และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพ
พิมพ์.
อารยา ช่ออังชัญ. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด
แก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
(ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัศวรัฐ นามะกันคำ. (2550). การเปรียบเทียบความเข้าใจเชิงแนวคิดเรื่องวงจรไฟฟ้ากระแสตรง.
(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Dick, W. & Carey, L. (1996). The Systematic Design of Instruction. 4th ed. New York:
Longman.
Duch, B. (1995). Problems: A Key Factor in PBL. Retrieved August 18, 2019, form:
http://www.udel.edu/pbl/cte/spr96-phys.html.
Gallagher. S.A. (1997). Problem-based Learning: Where did it come form, What does it
do, Where is it going? Journal for the Education of the Gifted. 20(4), 148-150.
Guilford, S. & Hoepfner, R. (1971). The Analysis of Intelligence. New York: McGraw-Hill
Book Company.
Hemmerich, H., Lim, W., & Neel, K. (1994). Strategies for Lifelong Learning in Mathematics
and Science in the Middle and High School Grades. Portsmouth, NH: Heinemann.
Selley, N. (1999). The Art of Constructivist Teaching in The Primary School: a Guide
for Students and Teachers. London. David Futton Publishers.
Schwartz, P., Mennin, S. & Webb, G. (2001). Problem-based Learning: Case studies, Experience
and Practice. London: Kogan Page.
Thaman, I., Richa G. (2013). Promoting active learning in respiratory physiology positive student
perception and improved outcomes. National Journal of Physiology, Pharmacy &
Pharmacology, 20(3), 332-362.
Torrance, E.P. (1986). Education the Creative Potential. Minneapolis: The Lund Press.
Vygotsky, L. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes.
Cambridge: Harvard University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2021