บทวิเคราะห์ค่ามัธยฐาน (Mdn) และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (IQR) จากแบบวัดที่เป็นมาตรฐานประมาณค่า โดยการกำหนดน้ำหนัก กับ ไม่กำหนดน้ำหนักให้สมาชิกในค่าคะแนนเดียวกัน

ผู้แต่ง

  • พงศ์เทพ จิระโร วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

คำสำคัญ:

ค่ามัธยฐาน(Median), ค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์(IQR), การกำหนดน้ำหนักของแต่ละความถี่

บทคัดย่อ

            ค่ามัธยฐาน(Median) คือคะแนนลำดับที่กลางของข้อมูลชุดนั้น เป็นค่ากึ่งกลางที่จะเป็นตัวแทนที่แสดงว่ามีข้อมูลที่มากกว่าและน้อยกว่าคะแนนนั้นอยู่กึ่งหนึ่ง การหาค่ามัธยฐาน(Mdn)  และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์(IQR)  สำหรับแบบวัดที่เป็นมาตรประมาณค่า(Rating scale) ไม่สามารถใช้สูตร Mdn แบบช่วงได้ ส่วนการหาโดยแจกแจงความถี่โดยทั่วไปจะไม่มีความแปรปรวน(Variance) หรือความแปรปรวน(Variance) ต่ำ การกำหนดน้ำหนักให้สมาชิกในค่าคะแนนเดียวกันเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถจะนำมาใช้ซึ่งจะทำให้ค่ามัธยฐาน(Mdn)  ที่ได้มีค่าความแปรปรวน(Variance) ของผลการวัดตัวแปร(Variable)สูงขึ้น โดยมีขั้นตอนสำคัญคือ ตรวจสอบรอยคะแนนในแต่ละคะแนนของมาตรประมาณค่า(Rating scale)นั้นๆ จากนั้นให้พิจารณาตำแหน่ง มัธยฐาน(Q2) หรือ Q1  Q3 ที่ต้องการจะหาว่าอยู่ในช่วงคะแนนใด จึงหาน้ำหนัก(Weight)ของแต่ละความถี่ในช่วงคะแนนนั้นโดยใช้สูตร W(น้ำหนัก) = 1 / f (จำนวนความถี่ทั้งหมดในช่วงคะแนนนั้น) โดยขั้นตอนสุดท้ายหาค่ามัธยฐาน(Mdn) ด้วยสูตร Mdn = (f × Weight) + L( ขีดจำกัดล่างของชั้นก่อนหน้า)  โดยวิธีการดังกล่าวจะทำให้ได้ค่ามัธยฐาน(Mdn) ที่มีความแปรปรวน(Variance) มากกว่าค่าที่หาโดยใช้การแจกแจงความถี่แบบเดิมโดยทั่วไป

References

จุมพล พูลภัทรชีวิน. 2544. “เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR”, ใน เทคนิควิธีการวิเคราะห์ นโยบาย, ทศพร ศิริสัมพันธ์, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม. 2555. การวิจัยด้วยวิธีเดลฟาย:การใช้มติสอดคล้องโดย เสียงข้างมาก. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์. 7 (18): 1-
13.
พงศ์เทพ จิระโร, อรรณพ โพธิสุข และอุบล ธนเนศชัยคุปต์, 2563. การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคตะวันออกของไทย. ผลงาน
วิจัยคณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา, นครนายก.
Macmillan,T.T. 1971. The Delphi Technique. Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on
Research and Development. Monterey: California. (May 1971): 3-5
Pongthep Jiraro, 2013. Educational Research, 4th edition, Chon Buri: Faculty of Education Burapha University.
T N Srivastava and Shailaja Rego, 2012. Statistics for Management. Tata McGraw Hill Education
Private Limited, New Delhi, India.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2021