การพัฒนาชุดการเรียนรู้สุขศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการศึกษาพหุภาษา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
คำสำคัญ:
ชุดการเรียนรู้, การเรียนรู้สุขศึกษาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดการเรียนรู้สุขศึกษาและ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการศึกษาพหุภาษา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 1 ห้อง จาก 4 ห้อง มีนักเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า
- 1. ชุดการเรียนรู้ สุขศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.80/872.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
- 2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ สุขศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
เชาวลิต ภูมิภาค และคณะ. (2551). คู่มือครูแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และ พลศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช.
ชัยยงค์ พรหมวงษ์. (2540). ชุดการสอนทางไกล. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการศึกษาพัฒนาสรรหน่วยที่ 5. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2551). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ดรุณี ทายะติและคณะ. (2544). อนามัยโรงเรียน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สุขศึกษายุคใหม่. (2559). เข้าถึงได้จาก http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php/
นฤมล มีโสภา. (2550). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาเรื่อง สรรพสิ่งในธรรมชาติ ด้วยเทคนิคหมวก 6 ใบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: SR Printing.
บุหลัน เฉียดไธสง. (2557). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง สารเสพติด กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). รู้เนื้อหาก่อนสอนเก่ง การเปลี่ยนนวัตกรรมคุณภาพในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลักขณา สริวัฒน์. (2554). จิตวิทยาในชั้นเรียน (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
วินัยธร วิชัยดิษฐ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาครุศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันทนีย์ เอื้อรักษ์โอฬาร. (2553). การสร้างชุดการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมหน่วยการเรียนรู้ เรื่องประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยใช้รูปแบบการเรียนแบบสืบสวนสอบสวนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศศิธร จ่างภากร. (2555). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้...ของครูสาธิตเกษตร .ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม).
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2545). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: เดอะโนว์เลจ.
สุชาติ โสมประยูร และ เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2553). เทคนิคการสอนสุขศึกษาแบบมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ยูแพดอินเตอร์.
สุนิศา สุดจำนง. (2558). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคกลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546). 20 วิธีการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
หยาดพิรุณ พวงสุวรรณ์. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะพื้นฐานและการฝึกหัดการแสดงนาฏศิลป์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา