ผลการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความสามารถในท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ ของนักกีฬาเทควันโดพุมเซ่

ผู้แต่ง

  • พงษ์พิสุทธิ์ คูหานา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วายุ กาญจนศร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริก, ท่าเตะฟลายอิ้งไซด์, นักกีฬาเทควันโด

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลของการฝึกโปรแกรมระหว่างการฝึกแบบพลัยโอเมตริกควบคู่กับท่าเตะฟลายอิ้งไซด์กับการฝึกโปรแกรมการฝึกท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ที่มีต่อความสูงในท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักกีฬาเทควันโด อายุระหว่าง 8-14 ปี ของยิมเดอะคิงคอง เทควันโด อะคาเดมี่ กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ที่ผ่านการฝึกท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จัดแบ่งกลุ่มตัวอย่าง แบบแมชชิ่งกรุ๊ฟ (Matching group) กลุ่มทดลองฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ ส่วนกลุ่มควบคุมฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 120 นาที ทำการทดสอบความสูงในท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า "ที" แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ค่า (t-test Independent) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของความสูงในท่ากระโดดเตะฟลายอิ้งไซด์เพิ่มขึ้นโดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม 2. การทดสอบนักกีฬาในกลุ่มที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกควบคู่กับท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ มีความสามารถในการเตะสูงกว่านักกีฬาในกลุ่มที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกท่าเตะฟลายอิ้งไซด์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จักรกฤษณ์ ไชยพิเดช. (2561). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความแข็งแรงและพลังของกล้ามเนื้อส่วนบนในนักกีฬาวอลเลย์บอลเยาวชนชาย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2538). เทคนิคการฝึกความเร็ว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชนินทร์ วรรณมณี. (2549). ผลการฝึกแบบพลัยโอเมตริกที่มีต่อความเร็วและกำลังกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาวิ่งระยะสั้น 80 เมตร (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นพดล มณีแดงวีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์ และเมตตา ปิ่นทอง. (2558). การเปรียบเทียบผลการฝึกพลัยโอเมตริกระหว่างการฝึกแบบขาเดียวกับการฝึกแบบสองขาต่อสมรรถภาพการกระโดด.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. 15(1), 17-26.
ปิยะวัฒน์ ปัญญา. (2553). ผลของการฝึกเสริมพลัยโอเมตริกที่มีต่อพลังในการชกหมัดตรงในกีฬาเทควันโดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยูโสบ ดำเต๊ะ. (2554). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความคล่องตัวในนักกีฬาฟุตบอล (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีการสอนและการวัดผลเพื่อประเมินทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศุภกร โกมาสถิตย์. (2552). ผลของการฝึกเสริมพลัยโอเมตริกที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลระดับมัธยมศึกษาตอน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย. (2561). การฝึกเทควันโด. กรุงเทพฯ: สมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย.
Hoehn Elaine N. Marieb & Katja N. (2015). Human Anatomy & Physiology,Masteringa& p with pearson Etext & Valueqack Access Caed,Brief Atlas of the Human Body,and Get Ready for A&P. Sanfrancisco. iDoctor house. (14 Aug 2017). iDoctor house Retrieved
Santos, J. L. (1986). Female meiosis during oocyte maturation in Eyprepocnemisplorans (Orthoptera: Acrididae). Canadian journal of genetics and cytology, 28(1), 84-87.
Schmidtbleicher, D. (1992). Training for power events. Strength and power in sport, 1, 381-395.
Valades D., Palao J.M., Femia P. & Ureña. (2017). Effect of eight weeks of upper-body plyometric training during the competitive season on professional female volleyball players. The Journal of Sports Medicine and Physical Fitness, 57(7), 942-952
Ying-Chun & Zhang Na. (2016). Effects of plyometric training on soccer players. Experimental and Therapeutic Medicine, 12(2), 550-554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020