ความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของเครื่องนับจำนวนครั้งและวัดความเร็วการเตะ ในกีฬาเทควันโดที่สร้างขึ้นเองในการทดสอบทักษะการเตะเฉียง ในกีฬาเทควันโดสำหรับนักกีฬาเทควันโดระดับเยาวชน

ผู้แต่ง

  • กฤษดา เพียยุระ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • โรจพล บูรณรักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความเชื่อมั่น, ทักษะการเตะเฉียง, เทควันโด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องมือนับจำนวนครั้งและวัดความเร็วการเตะในกีฬาเทควันโด ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือในการนับจำนวนครั้งการเตะและวัดความเร็วในการเตะ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ นักกีฬาเทควันโดภายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพศชายและหญิง อายุระหว่าง 12-17 ปี ซึ่งมีความสามารถด้านเทควันโดในระดับสายดำและมีประสบการณ์การแข่งขันกีฬาเทควันโดไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 85 คน ทำการหาความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือที่สร้างขึ้นโดย ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ทำการทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือนับจำนวนครั้งและวัดความเร็วการเตะในกีฬาเทควันโด โดยใช้แบบทดสอบทักษะการเตะเฉียง (Roundhouse Kick) ไปยังเป้าหมายที่กำหนดให้เร็วที่สุดและให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภายในระยะเวลา 30 วินาที ทำการทดสอบ 2 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ  ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (ICC)  ผลการวิจัยพบว่า ด้านความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าดัชนีความสอดคล้องความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .91 ความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในด้านการนับจำนวนครั้งการเตะพบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น มีค่าเท่ากับ .886 (p < 0.05) และในด้านการวัดความเร็วการเตะพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นมีค่าเท่ากับ .819 (p < 0.05) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการสร้างเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่นที่มีความน่าเชื่อถือในการใช้งานและสามารถเป็นเครื่องมือทางเลือกในการทดสอบทักษะการเตะเฉียงในกีฬาเทควันโดได้

References

กมลเนตร อมรศักดากุล. (2558). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเทควันโดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามในพระบรมราชินูปถัมภ์ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชนาธิป ซ้อนขำ. (2560). ผลฉับพลันของการให้ผลย้อนกลับและการตั้งเป้าหมายต่อความเร็วในการเตะเฉียงของนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2545). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: หจก.พี.เอ็น.การพิมพ์.
สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์
Chen C. Y., et. al. (2015). Reliability and Validity of a Dual-Task Test for Skill Proficiency in Roundhouse Kicks in Elite Taekwondo Athletes. Open Access Journal of Sport Medicine, 6, 181-189.
Ha, Choi & Kim. (2009) The Kinematicall Anallysis of The Taewkondo Sparring Players’ Bandal Chagi in Kinematics. International Journal of Applied Sports Sciences, 21(1), 2009.
Krikendall, D.R., J.J Gruber and R.E. Johnson (1987). Measurement and Evaluation for Physical Education. Illinois: Human Kineties Publisher.
Koo T. K. & Li M. Y. (2016). A Guideline of Selecting and Reporting Intraclass Correlation Coefficients for Reliability Research. Journal of Chiropractic Medicine, 15, 155-163. from http://dx.doi.org/10.1016/j.jcm.2016.02.012.
Kim, K. Y., et. al. (2016). Effects of Different Bouncing Frequencies on the Olympic Taekwondo Roundhouse Kick Performance. Journal of the International Association for Taekwondo Research, 3(1), 19-25.
World Taekwondo. (2012). World Taekwondo Federation Competition Rules & Interpretation from https://www.gladiatordojang.cz/taek/kyorugi/Competition_Rules_2012-12-26_E-ballot.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020