การศึกษาทักษะชีวิตตามแนวทางของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กระทรวงศึกษาธิการของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ทักษะชีวิต, นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 จำนวน 1,053 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สามารถจำแนกออกเป็น 4 ด้าน จำนวน 58 ข้อ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ ด้านแรก การตระหนักและการเห็นคุณค่าตนเอง ด้านที่สอง การคิดวิเคราะห์ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้านที่สาม การจัดการกับอารมณ์และความเครียด และด้านที่สี่ การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น โดยที่เครื่องมือการวิจัยที่ใช้มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.245-0.854 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.974 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการวิจัยพบว่า ทักษะชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาทักษะชีวิตในแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน โดยที่ทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นมีค่าสูงที่สุดรองลงมาได้แก่ ด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นตามลำดับ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ร่างแนวทางในการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ธนัตถ์กานต์ ศรีเฉลียว, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, และสำราญ กำจัดภัย. (2560). การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 61-74.
นฐมล สาดบางเคียน. (2556). การพัฒนาเครื่องมือวัดทักษะชีวิต ตามจุดเน้นการพัฒนา คุณภาพผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 10-15.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย แนวคิดเชิงทฤษฎี-วัยเด็กตอนกลาง (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศักดิ์นคร สีหอแก้ว, ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2558). รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 53-66.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Osman, N. A., & Fatih, K. (2016). A program implementation for the development of life skills of primary school 4th grade students. Journal of Education and Practice, 7(35), 9-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา