การวิจัยกำกับ ติดตาม และประเมินผล การจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) ของเครือข่ายทางการศึกษาที่รับเงินทุนอุดหนุนกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพของคุรุสภา : กรณีศึกษาภูมิภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • พงศ์เทพ จิระโร วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • อาพันธ์ชนิต เจนจิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การกำกับ, การติดตาม และการประเมินผล, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษารวมตัวกันเป็นเครือข่ายที่มีการพัฒนาวิชาชีพแบบ PLC เพื่อประเมินสมรรถนะการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและครูผ่านกระบวนการ PLC เพื่อประเมินความร่วมมือ และการเป็นหุ้นส่วนทางวิชาการและวิชาชีพระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ภาคเอกชนและหน่วยงานทางการศึกษา กับคุรุสภา และเพื่อประเมินองค์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการ PLC สรุปผลวิจัยนวัตกรรมการสอนซึ่งเป็นผลการดำเนินงาน PLC พบว่า ส่วนใหญ่นวัตกรรมการสอนเป็น BBL (Brain-Based Learning) (ร้อยละ 61.01) สำหรับผลเกิดกับผู้เรียนเป็นการพัฒนาด้าน      พุทธิพิสัยมากที่สุด (ร้อยละ 44.09) บรรลุวัตถุประสงค์การสอนโดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 77.96) จำนวนครูสมาชิกเครือข่ายส่วนใหญ่กลุ่มละ 0-5 คน(ร้อยละ 60.06) จำนวนนักเรียนแต่ละกลุ่มส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 21-50 คน (ร้อยละ 66.77) และพบว่าจำนวนชั่วโมง PLC ครูส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 51-75 ชั่วโมง (ร้อยละ 81.79) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของนวัตกรรมการสอนที่นำมาใช้ในกระบวนการPLC กับผลสัมฤทธิ์หรือผลอื่นๆ ของนักเรียน โดยการทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-square) พบว่า ชนิดของนวัตกรรมการสอนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 การศึกษาความสัมพันธ์โดยสูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (rxy) พบว่า จำนวนชั่วโมง PLC ที่ได้ มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การสอนในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวนนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายมีความสัมพันธ์กับจำนวนชั่วโมง  ประโยชน์ที่ได้รับจากPLC และ ผลประเมินรวมในทิศทางลบ=อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวนชั่วโมง PLC มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับประโยชน์ที่ได้รับจาก PLC และผลประเมินรวม และประโยชน์ที่ได้รับมีความสัมพันธ์กับผลประเมินรวมในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรัณย์พล วิวรรธมงคล (2561). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใชกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริม ความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 92-114.
เครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ, ชุมศักดิ์ อินทรรักษ และอนุศักดิ์ ตั้งปณิธานวัฒน. (2556). การส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมเครือขายการเรียนรูของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารปาริชาต, 25(2), 81-90.
ปิยณัฐ กุสุมาลย์ และภมรพรรณ์ ยุระยาตร์. (2560). แนวทางการพัฒนาครูโดยใชแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้ สําหรับสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(1), 196-206.
พงศ์เทพ จิระโร. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. ชลบุรี: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. เอกสารการสอน.
วรลักษณ์ ชูกําเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรูทางวิชาชีพครู เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เนนผูเรียนเปนหัวใจสําคัญ. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 25(1), 1-10.
Harris, A. (2003). Teacher Leadership as Distributed Leadership. School Leadership and Management Vol. 23 No.3 (2003): 313-324.
Hord, S.M..(2003). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. 2nd edtion.: Washington DC: Southwest Educational Development Laboratory. Office of Educational Research and Improvement.
Hord, S.M. (2010). Professional learning communities : Communities of inquiry and improvement. Austin : Southwest Educational Development
Laboratory. journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/viewFile/125/688
Hord, S.M., Roussin J, L., & Sommers, W.A. (2010). Guiding professional learning communities: inspiration, challenge, surprise, and meaning. Corwin Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020