ปัจจัยเหตุที่ส่งผลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปรัชญาเมธี เทียนทอง วิชิต อู่อ้น วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน, คุณค่าองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา ปัจจัยเหตุที่ส่งผลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยเหตุที่มีผลต่อปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อคุณค่าองค์กรของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย 3. เพื่อพัฒนาแบบจำลองการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 15 แห่ง ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยเป็นทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

          ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ปัจจัยด้านนโยบายองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  2) ปัจจัยด้านสถานการณ์ทางการตลาดมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ปัจจัยด้านพฤติกรรมการรับรู้มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณค่าองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

วิจิตร ศรีสอ้านและคณะ. (2556). หลักการแนวคิดทฤษฎีทางการบริหาร. (ออนไลน์).เข้าถึงเมื่อ : http ://members.thai.net/intira/article theorymgr 01. Html.29 เมษายน 2556.
วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิจัยธุรกิจ. โรงพิมพ์ บริษัทเซ็นทรัล เอ็กซ์เพลส จำกัด.กรุงเทพฯ.
วิชิต อู่อ้น. (2511). การใช้แบบจำลองส่วนประสมทางการตลาดเพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์. 3(1), 34-43
วิชิต อู่อ้น. (2511). การนำการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ในการสร้างคุณค่าตราสินค้าในมุมมองของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล.
สุภมาส อังศุโชติ สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์
Belch,G A., & Belch,M.A. (2004). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective. (4th ed.). Irwin: McGraw-Hill.
Bharadawaj, S., Varadarajan, R., & Fahy, J. (1993). Sustainable competitive advantage in service industries: A conceptual model research and propositions. Journal of Marketing, 57 (4), 83-99.
Bowen, S. A. (2012). A state of neglect: Public relations as ‘corporate conscience’ or ethics counsel. Journal of Public Relations Research, Vol.20, No.3, p.271-296.
Daymon,C. (1998). The organization context of marketing communication. In P.Kitchen (Ed.), Maketing communication: Principles and practice (PP.73-88). London,UK: International Thompson Business Press.
Elisabeth Koes soedijati, Sri Astuti Pratminingsih.(2011). The impacts of Marketing mix on students choice of University study case of private university in Bandung, Indinesia. International conference on business and economic research (2nd ICBER 2011),p.2124- 2131.
Grein, A.F., & Gould, S. J. (1996). Globally integrated marketing communication. Journal of Marketing Communication, 2 (3), 141-158.
Griffitj,D.A., & Harvey, M.G. (2001). Executive insights: An international model for use in global international networks. Journal of International Marketong, 9 (3), 87-103.
Hite, R. E., & Fraser, C. (1988). International advertising strategies of multinational.
Loevonich,2009, in Kohrn,Griesbaum,Mandl. (2012). Social-Media-Marketing an Hochschulen. Eine vergleichende Analyse zu Potenzialen under maktuelllen Standder Nutzung am Beispil niedersachsischer Hohcschulen, Waxmann, p.336-337.
Mabel Zvobgo & T.C.Melewar, (2011). Drivers of Globally Integrated Marketing Communications: A Review of Literature and Research Propositions. Journal of Promotion Management. 17(1), 1-20.
Mark Durkin, Seamas McKenna, Darryl Cummins. (2012). Emotional connections in higher education marketing. International Journal of education Management, 26(2),
153-161.
Malina Khammavong. (2014). Students’ perception on Integratedmarketing communication (IMC) of private higher education institutions in Lao PDR, Marketing and Communication Interactive Session. p.1-14.
Szilvia Szanto & David Harsanyi. (2007).Integrated Marketing Communication (IMC). EU Working Paper 2.
Uchendu, Chika C., Nwafor, Innocent A., Nwaneri, Mary G. (2015).Marketing strategies and students’ enrolment in private secondary school in calabar municipality,cross river state,Nigeria, International Journal of educational Practice, 3(5), 212-233.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019