คุณภาพชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน)

ผู้แต่ง

  • วิมลพรรณ จันทศร สฎายุ ธีระวณิชตระกูล เกรียงศักดิ์ แสงจันทร์ กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตของนิสิต, ระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา และ 2) เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) ปีการศึกษา 2560 ตั้งแต่ระดับชั้นปีที่ 2-4 และสูงกว่า โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนโดยใช้คณะเป็นชั้นภูมิในการสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ผ่านระบบ Google Form สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความถี่

             ผลการวิจัยพบว่า

  1. คุณภาพชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน คือ ด้านครอบครัว และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านร่างกายและความสามารถในการประกอบกิจกรรม และด้านสุขภาพจิตและจิตวิญญาณ ตามลำดับ
  2. ความต้องการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา พิจารณาจากค่าความถี่สูงสุด 5 ลำดับแรกจากการสังเคราะห์ความถี่ในแบบสอบถามปลายเปิด เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1)ความต้องการให้ปรับปรุงระบบ Internet และสัญญาณ WIFI ให้มีความเสถียรพร้อมใช้งานมากขึ้น 2) ความต้องการให้หาแนวทางลดความเครียดจากเรื่องการเรียนให้นิสิต 3) ความต้องการให้มหาวิทยาลัยขยายช่วงเวลาในการสอบโดยการเพิ่มจำนวนวันให้มากขึ้นกว่าเดิม 4) ความต้องการให้เพิ่มจำนวนที่จอดรถให้มากขึ้นกว่าเดิม และ 5) ความต้องการให้เพิ่มจำนวนรอบบริการของรถสวัสดิการให้มากขึ้นกว่าเดิม ตามลำดับ

References

กฤตธัช อันชื่น. (2557). รายงานวิจัยสถาบันเรื่องคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. (2560). จำนวนนิสิตระดับปริญญาตรีทั้งหมดในปีการศึกษา 2560. วันที่ค้นข้อมูล 30 มิถุนายน 2560, เข้าถึงได้จาก http://reg.buu.ac.th/registrar/stat.asp?avs96364238=1
งานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. (2560). รายงานการประเมินตนเอง (SAR) มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2560, เข้าถึงได้จาก http://qa.buu.ac.th/sarbuu.php
ทนงศักดิ์ วันชัย. (2552). คุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตบางพระ. รายงานการวิจัย คณะเกษตรศาสตร์บางพระ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, วิทยาเขตบางพระ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ภัทรพล มหาขันธ์. (2554). รายงานการวิจัยเรื่องคุณภาพชีวิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำราญ จูช่วย. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องคุณภาพชีวิตนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์ : กรณีศึกษานักศึกษาเข้าใหม่ปีการศึกษา 2555. รายงานการวิจัย วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุขศรี สงวนสัตย์. (2552). คุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รายงานการวิจัย ฝ่ายแนะแนวการศึกษาและอาชีพ, กองพัฒนานักศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Flanagan, J. A Research Approach to Improving Our Quality of Life. American Psychologist 31 (February 1978): 138-147.
Ferrans, C.E. & Power, M.J. (1992). Psychometric Assessment of the Quality of Life Index. Research in Nursing and Health. Vol.15.: 29-38.
Haddad, A.S.(1986). Quality of Life of Jordanian College Student. Los Angles :University of California.
Likert,R. (1970). A technique for the measurement of attitudes. In G.F. Summer(Ed.) Attitudes measurement (pp. 75-90). Rand McNally, New York.
Maslow, A. (1998). Towards a psychology of being. (3rd ed). New York: Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019