กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การบริหารเครือข่ายความร่วมมือ, การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก การวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่  1 ศึกษาองค์ประกอบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling) ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และตัวแทนกลุ่มเครือข่าย  จำนวน  420 คน  กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเปิดตารางสำเร็จรูปของเคจซีมอร์แกน (Krejcie  and  Morgan) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)   ตอนที่ 2 ศึกษาสภาพแวดล้อม      จุดแข็ง-จุดอ่อน  โอกาส  ภาวะคุกคาม - อุปสรรคการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก จากโรงเรียนขนาดเล็กที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) จำนวน  3 โรง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ และตัวแทนกลุ่มเครือข่าย  จำนวน  9  คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ระยะที่ 3 พัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก แบ่งเป็น 2 ตอน  ตอนที่  1 ร่างกลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ตอนที่  2  การตรวจสอบยืนยันและประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ฯ โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group technique) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์  แบบบันทึก  แบบประเมินฯ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index : PNI Modified )  การวิเคราะห์กลยุทธ์จากตาราง SWOT Matrix การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากแบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group technique) ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลกาวิจัยพบว่า

                    1.องค์ประกอบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกําหนดสมาชิกเครือข่าย 2) การมีส่วนร่วมในการดําเนินงานเครือข่าย 3) การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กัน 4) ภาวะผู้นำของผู้ประสานงานเครือข่าย 5) การประเมินผลและการปรับปรุงงาน ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.75)

                    2.สภาพปัจจุบันของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก  โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 3.41) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของระดับการควรปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.39) และค่าดัชนีความต้องการจําเป็นของการพัฒนาการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวมมีค่า (PNI Modified = 0.28)

                    3.กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลักประกอบด้วย 1) กลยุทธ์กระตุ้นการก่อตั้งเครือข่ายความร่วมมือ 2) กลยุทธ์พัฒนาการดําเนินงานของเครือข่ายความร่วมมือ 3) กลยุทธ์การประเมินผลและการปรับปรุงงานของเครือข่ายความร่วมมือ และผลการประเมินโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด  ( = 4.53)

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา 6. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซส.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพฯ : ที.เอส.บี.โปรดักส์.
ขนิฏฐา กาญจนรังสีนนท์. (2552).การบริหารงานเครือข่าย[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.northphc.org/doc/mananet.doc. (10 กันยายน 2552). คณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน,
จำนงค์ แจ่มจันทรวงษ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบเครือข่ายเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต: ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เมตต์ เมตต์การุณต์จิต.(2547).การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
วรัยพร แสงนภาบวร. (2551). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก: กรณีกลุ่มโรงเรียนตำบลไทรน้อย. วารสารการศึกษาไทย. 4(5), 6-7.
วิโรจน์ สารรัตนะ และคณะ.(2545).ผู้บริหารใหม่ ในโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาผลการวิจัยเพื่อการวิพากษ์. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.
นฤมล นิราทร, (2543).การสร้างเครือข่ายการทํางาน: ข้อควรพิจารณาบางประการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปาริชาต สถาปิตานนท์.(2546). สื่อสารกับสังคมเครือข่าย. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร 3 “การสร้างเครือข่ายที่มีีพลัง” สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
กรุงเทพมหานคร: สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2554). การวางแผนยุทธศาสตร์ทางการศึกษา. เอกสารประกอบการสอน.พระมหาสุทิตย์ อาภากโร.(2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการ
จัดการ. กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.
พัชรินทร์ จันทาพูน. (2557). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารศึกษาศาสตร์. 28(1), 140-153.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 (2560). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กปีงบประมาณ 2560-2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาขอนแก่น เขต 1. สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2554).การวางแผนเชิงกลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและ
แผนการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ.2558-2561.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย.
Burke, A. (1999). Social Development Division Department for International Development. Communications & Development. A practical
guide. http://www.dfid.gov.uk (August 14, 2008).
Goldsmith, S. and Eggers.(2004).Governing by Network. Washington, D.C. : Brooking Institution Press, W.D,
Griffin , R. M. (2000). Case study of the implementation of a small school in an urban high school. Doctoral Dissertation University of
Roosevelt University.
Robbins, S. and Mukerji. (1990). Organization Theory: Structure, Design, and Applications (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Starkey, P. (1997). Networking for Development. IFRTD (The International Forum forRural Transport and Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019