โปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ศราวุฒิ สนใจ สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์, การคิดวิเคราะห์, วิธีการพัฒนาครู, โปรแกรมพัฒนาครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และ 2) เพื่อออกแบบโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เกี่ยวกับวิธีการพัฒนาครูและประเมินความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความเหมาะสมของโปรแกรมพัฒนาครู โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) และแบบประเมินความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความเหมาะสมของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการสังเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปจากเนื้อหาการสัมภาษณ์ (Content analysis)

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาวิธีการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวิธีการที่เหมาะสม คือ 1) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างดี 2) การติดตามผลการพัฒนาด้วยวิธีการเป็นพี่เลี้ยงและการสอนงาน และ 3) การปฏิบัติงานจริงของครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  2. โปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีกระบวนการพัฒนา เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างดีและการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Creation of knowledge and Workshop training) มีเนื้อหาสาระประกอบด้วย 4 โมดูล คือ โมดูล 1 การเตรียมการเรียนการสอน (Teaching preparation) โมดูล 2 การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Teaching process) โมดูล 3 การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (Assessment and evaluation)

และโมดูล 4 การสรุปและรายงานผลการจัดการเรียนรู้ (Conclusion and Report) ใช้เวลาจำนวน 18 ชั่วโมง ระยะที่ 2 การเรียนรู้ผ่านบุคคลอื่นโดยการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ใช้เวลาจำนวน 36 ชั่วโมง และระยะที่ 3 การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงาน (Experiential Learning)  ใช้เวลาจำนวน 126 ชั่วโมง ซึ่งดำเนินการตรวจสอบและประเมินโปรแกรมการพัฒนาครู จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน พบว่า โปรแกรมพัฒนาครูมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.85) มีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.80) และมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.79)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). รายงานการสังเคราะห์แนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย.
เชษฐา ค้าคล่อง. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแบบมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขา
วิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีระวุฒิ เจริญราษฎร์ และคณะ. (2536). คู่มือปฏิบัติการเจ้าหน้าที่. นครพนม : ไทยสากลเซ็นเตอร์กรุ๊ป.
บุญเลิศ กลิ่นรัตน์. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. เชียงใหม่ : สถาบันราชภัฎเชียงใหม่.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). โรงเรียนการบริหารสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
เวียงชัย อติรัตนวงษ์. (2553). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขามแก่นนคร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมใจ กงเติม. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสอนคิดวิเคราะห์ สำหรับครูผู้สอนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) [องค์การมหาชน]. (2550, 6 พฤษภาคม). สรุปผลการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถาน
ศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รอบแรก พ.ศ.2544-2548). สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2560 จาก http://www.onesqa.or.th/th/home/index.php
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548) . แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการ พ.ศ. 2548 - 2551. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สิริพร ทิพย์คง. (2556). จำนวนและการดำเนินการ. วารสารคณิตศาสตร์, 58(656-658), 3.
สุวิทย์ ยอดสละ. (2556). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการ
ศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์และคณะ. (2545). รายงานการวิจัยรูปแบบเครือข่ายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู.
Charles Jennings. (2013). Framework for High Performance. [Online]. Available from:
http://charles-jennings.blogspot.com/2013/06/702010-framework-for-high-performance.html, [accessed June 10, 2016].
Cochran-Smith, M. & Lytle, S. L. (2001). Beyond certainty: Taking an inquiry stance on practice. New York: Teachers College Press.
Lombardo, Michael M and Eichinger, Robert W. (1996). The Career Architect Development Planner. Minneapolis: Lominger.,
Palmer, T.M. (1978). The in –Service Education of Teacher: Trends Process and Prescriptions. Massachusetts: Allyn and Bacon.
Walling, B., & Lewis, M. (2000). Development of professional development pre-service teachers: Longitudinal and comparative analysis. Action
Teacher Education, 22(2a).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019