การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธนศักดิ์ เจริญธรรม สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ โกวัฒน์ เทศบุตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์, การจัดการเรียนรู้, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา 2) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา 3) ออกแบบโปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา และ 4) ประเมินผลการใช้โปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา การวิจัยแบ่งออก เป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนาวิธีการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 306 โรง แต่ละโรงเรียนมีผู้ให้ข้อมูล 3 คน ประกอบด้วยครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และครูหัวหน้างานวิชาการ รวมจำนวน 918 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) ระยะที่ 3 ออกแบบโปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้โปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนา จำนวน 15 คน และนักเรียนโรงเรียนอนุกูลนารี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดฯ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์      แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้โปรแกรม แบบทดสอบก่อน-หลังการพัฒนา แบบประเมินพฤติกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น PNI และการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา มี 6 องค์ประกอบหลัก 38 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด 2) การวิเคราะห์หลักสูตร ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด 3) การกำหนดจุดประสงค์ ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด 4) การออกแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วย 14 ตัวชี้วัด 5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 14 ตัวชี้วัด 6) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
  2. สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และวิธีการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา ได้แก่ 1) การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) การฝึกอบรม 3) การฝึกปฏิบัติในงาน 4) การใช้ระบบพี่เลี้ยง 5) การสอนแนะงาน 6) การศึกษานอกสถานที่ 7) การนิเทศ และ 8) โรงเรียนเป็นฐาน
  3. โปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) โปรแกรมฯ และ 2) คู่มือการใช้โปรแกรมฯ โดยมีองค์ประกอบของโปรแกรม คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล เนื้อหาประกอบด้วย 4 Module คือ Module 1 การวิเคราะห์ผู้เรียน Module 2 การวิเคราะห์หลักสูตร Module 3 การออกแบบการเรียนรู้ และ Module 4 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการพัฒนา ได้แก่ 1) การศึกษาด้วยตนเอง 2) การชมวีดีทัศน์โรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติเป็นเลิศ 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 4) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5) การบูรณาการแบบสอดแทรกกับการปฏิบัติงาน 6) โรงเรียนเป็นฐาน 7) การนิเทศ และ 8) ระบบพี่เลี้ยงและการสอนแนะ ใช้เวลาในการพัฒนา จำนวน 65 ชั่วโมง ผลการประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ของโปรแกรมและคู่มือการใช้โปรแกรมฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
  4. ผลการทดลองใช้โปรแกรมฯ พบว่า 1) คะแนนทดสอบหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและรายด้าน และผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 75 ทุกคน 2) ความสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโดยรวมหลังการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3) ความพึงพอใจต่อโปรแกรมฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาวิทยาศาสตร์ มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

กุณฑรี เพ็ชรทวีพรเดช และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.
วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 5(2), 24-32.
กมล สุดประเสริฐ และคณะ. (2548). แนวทางการพัฒนาอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา. รายงานการวิจัย,กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการการสภาการศึกษา.
กมลวรรณ กันยาประสิทธิ์. (2558). ประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเพื่อทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์. 26(2), 1-8.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). การประกันคุณภาพของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
ชนกพร จุฑาสงฆ์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชญาภา น่าบัณฑิต. (2556). รูปแบบการพัฒนาครูด้านกระบวนการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
มหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชนกพร จุฑาสงฆ์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.
วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฑิฆัมพร บุญมาก. (2558). การพัฒนาระบบพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
ณพัฐอร บัวฉุน และคณะ. (2559). สภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ใน
พระบรมราชูปถัมภ์. 11(2), 97-109.
ณสรรค์ ผลโภค. (2557). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณด้วยวิธีสหวิทยาการในหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา
ตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 25(2), 109-124.
ปรารถนา เพชรฤทธิ์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษา
ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประเวส วะสี. (2539). กระบวนการทางปัญญา. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ยอดอนงค์ จอมหงษ์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิชัย แหวนเพชร. (2554). ครูยุคใหม่กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : สภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูนิเคชั่น.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2550). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2544-
2548). กรุงเทพฯ :อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). รายงานการวิจัย เรื่อง นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประทศสมาชิกองค์กรระดับนานาชาติ.
กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2545-2559) : พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์
โอชา). กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). รายงานการสังเคราะห์สภาวการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักประเมิน
ผลการจัดการศึกษา,
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2549). ข้อเสนอเชิงนโยบายการผลิตและการพัฒนาครู. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Burn, Eva. (2010). The Use of Science Inquiry and Its Effect on Critical Thinking Skills and Dispositions in Third Grade Students. Dissertation
Abstracts International. 70(07), 183-A.
Jeremiah, Ken. (2013). Understanding Approaches to Teaching Critical Thinking in High School Classrooms. Dissertation Abstracts International,
73(10), 171-A.
Gormally, Cara and others. (2009). Effects of Inquiry-based Learning on Students’ Science Literacy Skills and Confidence. International Journal
for the Scholarship of Teaching and Learning. 3(2), 1-22.
Kotter, John P. (1996). “Leading Change: Why Transformation Efforts Fail.” In Harvard Business Review on Change. Boston, Mass : Harvard
Business School Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019