การศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ในการเรียนปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารระหว่างการเรียนโดยใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ กับการใช้แอปพลิเคชันของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครปฐม

ผู้แต่ง

  • มัณฑนา วัชรินทร์รัตน์ สุกัญญา อุรุวรรณ วชิราภรณ์ ชูพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การเรียนปฏิบัติการ, กายวิภาคศาสตร์, ร่างอาจารย์ใหญ่, แอปพลิเคชันกายวิภาคศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครปฐม จำนวน 240 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมเรียนปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ของระบบย่อยอาหารโดยใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ และกลุ่มทดลองเรียนปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ของระบบย่อยอาหารโดยใช้แอปพลิเคชัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แอปพลิเคชันทางกายวิภาคศาสตร์ของระบบย่อยอาหาร ร่างอาจารย์ใหญ่ และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้น 7.80 ± 3.65 คะแนน และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเพิ่มขึ้น 11.40 ± 2.15 คะแนน ซึ่งนักศึกษากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนที่เพิ่มขึ้นมากกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05 และมีค่าระดับความก้าวหน้าทางการเรียนทั้งชั้น <g> ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองอยู่ในระดับสูง คือ 0.62 และ 0.86 ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการใช้แอปพลิเคชันเป็นสื่อประกอบการจัดเรียนการสอนกายวิภาคศาสตร์ของระบบย่อยอาหารช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ดีกว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ รวมทั้งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในและนอกห้องเรียนได้อีกด้วย

References

เฉลิม วราวิทย์. (2556). ย้อนรอยกระบวนการจัดการศึกษาแพทย์ศาสตร์ 2499-2552. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม พ.ศ. 2561 จาก
http://www.med.cmu.ac.th/secret/meded/AOMJAI_1/KM/ย้อนรอยแพทยศาสตร์_ศ.นพ.เฉลิม.pdf
ติมาพร ศรีเวียง, วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ และพิชญาภา ยวงสร้อย (2560). การพัฒนาแอพพลิเคชันบนคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เรื่อง อาเซียนศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1. THE DEVELOPMENT OF TABLET COMPUTER APPLICATION ON THE TOPIC OF ASEAN STUDY FOR PRATHOMSUKSA 1 STUDENTS. วารสาร
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 231-238.
บังอร ฉางทรัพย์, สำอาง วณิชชาพลอย และ ภาสินี สงวนสิทธิ์. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธี
การสอนแบบปกติและวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด. วารสาร มฉก.วิชาการ, 12(24), 13-32.
มารยาท โยทองยศ และ ปราณี สวัสดิสรรพ์. (2557). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม พ.ศ. 2561 จาก
http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf
ศรีรัฐ ภักดีรณชิต. (2556). การพัฒนาสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิคส์: กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐาน. รายงานการวิจัย, วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
สิรินันท์ กองลุน และ อภิดา รุณวาทย์. (2559). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ นิทานอีสป 2 ภาษา. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการ
เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 318-325.
สุรพงษ์ คงสัตย์ และ ธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม พ.ศ. 2561
จากhttp://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=656&articlegroup_id=146
Biasutto, S. N., Caussa, L. I., & Río, L. E. (2006). Teaching anatomy: Cadavers vs. computers. Annals of Anatomy - AnatomischerAnzeiger, 188(2),
187-190. BioDigital, Inc. (© 2018 BioDigital Inc).; January 6th, 2014.GraphicVizion. (© GraphicVizion).; September 11st, 2016.
Lewis T. L., Burnett B., Tunstall R. G. & Abrahams P. H. (2014). Complementing Anatomy
Education Using Three Dimensional Anatomy Mobile Software Application on Tablet Computers. Clinical Anatomy, 27(3), 313-20.
Mayfield, H. C., Ohara, P. T., Sullivan, P. S. (2012). Perceptions of a Mobile Technology on Learning Strategies in the Anatomy Laboratory.
Anatomical Sciences Education, 1-9.
McLachlan, C. J., Bligh, J., Bradley, P. & Searle, J. (2004). Teaching anatomy without cadavers. Medical Education, 38, 418–424.
Nuland S. E. V. & Rogers K. A. (2015). The anatomy of E-learning tool: Does software usability influence learning outcomes?. Anatomical Sciences
Education, 1-13.
Perry, J. L. & Kuehn, D. P. (2006). Using Cadavers for Teaching Anatomy of the Speech and Hearing Mechanisms. The ASHA Leader, 11(12), 14–28.
Raj Singh. (2013). PPT on Laboratory Method of Clinical Teaching. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 จาก
http://powerpointpresentationon.blogspot.com/2013/09/ppt-on-laboratory method-of-clinical.html
Siwaporn. (2558). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการหรือการทดลอง. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 จาก
http://041siwaporn.blogspot.com/2015/07/httpmte.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019