รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • กฤติมา มะโนพรม, สันติ บูรณะชาติ, โสภา อำนวยรัตน์, น้ำฝน กันมา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริง, ภาวะผู้นำที่แท้จริง, ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  3) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 405 คน และศึกษาองค์ประกอบและแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ยกร่างรูปแบบและประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .96 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

  1. องค์ประกอบของภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความตระหนักรู้ในตนเอง ด้านความยุติธรรม ด้านมุมมองเชิงจริยธรรม ด้านความโปร่งใส ด้านการมองโลกในเชิงบวก ด้านความรับผิดชอบ และด้านการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
  2. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย วิธีการและกิจกรรมการพัฒนา และกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 องค์ประกอบ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย วิธีการพัฒนา 5 วิธี กิจกรรม การพัฒนา 6 กิจกรรม และกระบวนการพัฒนาด้วยกระบวนการ PIER และ 3) ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การมีหลักสูตร การสนับสนุนทรัพยากร การกำกับติดตามและประเมินผล และ การสร้างเครือข่ายการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
  4. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซส มีเดีย.
ขวัญตา บุญวาศ. (2559). การพัฒนาอาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ของวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขเครือข่ายภาคใต้ สถาบันพระบรมราช
ชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข วารสาร, ปีที่ 26 (ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2559),130-143.
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. (2557). ผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ ภาวะผู้นำทางจิตวิญญาณ [ศักดิ์สินี เอมะศิริ, ผู้สัมภาษณ์]. ผู้นำแห่งอนาคต : คุณธรรมการนำร่วม และการ
เปลี่ยนแปลงภายใน. นครปฐม : โครงการผู้นำแห่งอนาคต ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. 4–13.
ชัชวาลย์ ศิลปกิจ. (2557). สติกับภาวะผู้นำ [ศักดิ์สินี เอมะศิริ, ผู้สัมภาษณ์]. ผู้นำแห่งอนาคต : คุณธรรมการนำร่วม และการเปลี่ยนแปลงภายใน. นครปฐม : โครงการผู้นำ
แห่งอนาคต ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. 15-24.
ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ : แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ปัญญาชน.
ธีระ รุญเจริญ. (2556). วิกฤติและทางออกในการบริหารและจัดการการศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, ปีที่ 8 (ฉบับที่ 1), 96-107. สืบค้นจาก
http://gradjournal.bru.ac.th.
ธีรภัทร กุโลภาส. (2556). ภาวะผู้นำที่แท้จริงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยมีการมองโลกเชิงบวก ทางวิชาการและยึดมั่นผูกพันกับครูเป็นตัวแปรส่งผ่าน
และขนาดโรงเรียนเป็นตัวแปรปรับ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
นิรันดร์ เนตรภักดี. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำอย่างแท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎี
บัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.
บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. (2554). แนวทางการพัฒนามาตรฐานความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ. วารสารวิทยาการ จัดการ, ปีที่ 28 (ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554),
33-48. สืบค้นจาก http://www.exat.co.th/contents/filemanager/info/26%20Transparency%20management.pdf.
บุษยา วีรกุล. (2558). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร:โครงการส่งเสริมและพัฒนาเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
ปิลันธนา แป้นปลื้ม. (2560). อิทธิพลของความยุติธรรมในองค์การต่อผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ผ่านการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การ
เรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม(e-JODIL), ปีที่7(ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560), 55-67. สืบค้นจาก http://e-jodil.stou.ac.th/filejodil/14_4_535.pdf.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ (Leadership). กรุงเทพมหานคร:ธนรัชการพิมพ์.
รัตนา กาญจนพันธุ์. (2552). จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณวิภา ไตลังคะ (2555). การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา: ข้อจำกัด และปัจจัยแห่งความสำเร็จ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. ปีที่ 4 (ฉบับที่ 2
พฤษภาคม – สิงหาคม), 210-231.
สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. ปีที่ 7 (ฉบับที่ 1 มกราคม –
มิถุนายน), 1-7.
สุธาสินี แสงมุกดา. (2554). การพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร.
สุนทรพจน์ ดำรงค์พานิช. (2555). โปรแกรม Mplus กับการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมชนสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ครบรอบ 15 ปี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ ฉบับพิเศษ, ปีที่ 21
(ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2561). 23-24.
อิทธิภัทร์ ภัทรเมฆานนท์. “การโค้ช” กับภาวะผู้นำตามคุณลักษณะของตนที่แท้จริงในศตวรรษที่ 21 [ศักดิ์สินี เอมะศิริ, ผู้สัมภาษณ์]. ผู้นำแห่งอนาคต : คุณธรรม การนำร่วม
และการเปลี่ยนแปลงภายใน. นครปฐม : โครงการผู้นำแห่งอนาคต ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. 45-61.
อุษา ชูชาติ และลัดดา อินทร์พิมพ์. (2558). บทวิเคราะห์ : มุมมองด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (ประยุทธ์ จันทร์โอชา). วารสารวิจัยการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภา
การศึกษา, ปีที่ 3(ฉบับที่ 6 มกราคม – มีนาคม), 16.
Avolio and Gardner (2005). Authentic leadership development: Getting to the root of positive forms of leadership. The Leadership Quarterly. 16 :
315-338.
Eisner, E. (1976). Education connoisseiship and criticism, Their form and function in education evaluation. Journal of Aesthetic Education. 39(2),
192-193
George B. (2003). Authentic Leadership : Rediscovering the Secrets to Creating Lasting Value. San Franciso : Jossey- Bass.
George B. (2007). True North : Discovery Your Authentic Leadership. San Franciso : Jossey-Bass.Ilies R., Morgeson. F. & Nahrgang. J. (2005).
Authentic Leadership and eudaemonic well-being:
Understanding leader-follower outcomes. The Leadership Quarterly. 16:373-394.
Luthans, F.& Avolio, B.J. (2003). Authentic leadership development. In K.S. Cameron, J.E. Dutton, & R.E.Quinn (Eds.), Positive Organizational
Scholarship : Foundations of a New Discipline. San Francisco, CA: Berrett-Koehler, 241-258.
Papa, R. (2011). Technology leadership for school improvement. Thousand Oaks: Sage Publications.
Walumbwa, F. O., Avolio, B. J., Gardner, W. L., Wernsing, T. S., & Peterson, S. J. (2008). Authentic Leadership: Development and Validation of a
Theory-Based Measuret. Journal of Management, 34(1), 89-126.
Wong, C.A. (2008). The Role of Authentic Leadership in Nursing and Healthcare. Canada : University of Alberta.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020