การพัฒนาเครื่องมือคัดกรองเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ดารณี ศักดิ์ศิริผล

คำสำคัญ:

เครื่องมือคัดกรอง, เด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเครื่องมือคัดกรองเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความ

บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ และเพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องมือคัดกรองเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นเด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ด้วยการแบ่งโรงเรียนเป็น 4 ขนาด คือ ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และใหญ่พิเศษ แล้วสุ่มมา 10 % ของโรงเรียนแต่ละขนาด ได้จำนวน 7 โรงเรียน และคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางการสุ่มของ Krejcie & Morgan ได้นักเรียนจำนวน 329 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ เครื่องมือคัดกรองเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดของแบบคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (McCarthy Screening Test) และแบบทดสอบความสามารถด้านคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย (Test of Early Mathematics Ability–Third Edition (TEMA-3)) ประกอบด้วย แบบทดสอบจำนวน 6 ชุดย่อย ได้แก่ ชุดที่ 1 การจำ ชุดที่ 2 การจำแนก  ชุดที่ 3 การนับ ชุดที่ 4 การรู้จักชื่อของตัวเลขและการเขียน ชุดที่ 5 การเปรียบเทียบจำนวน และชุดที่ 6 การบวก การลบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความเชื่อมั่น และคะแนนเปอร์เซ็นไทล์ ผลการวิจัย พบว่า  เครื่องมือคัดกรองเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น มีจำนวน 6 ชุด มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบคัดกรองเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ทั้ง 6 ชุด โดยชุดที่ 1, 4, 5 และ 6 แต่ละข้อมีความเหมาะสมเท่ากับ 1.00 ส่วนชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเหมาะสมตั้งแต่ 0.66 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งชุดเท่ากับ 0.88 นอกจากนี้จากเกณฑ์การตัดสินภาวะเสี่ยง ณ ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 20 พบว่า ชุดที่ 1 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 10 จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน ชุดที่ 2 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 9 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ชุดที่ 3 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 12 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ชุดที่ 4 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 18 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ชุดที่ 5 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 9 จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน และ ชุดที่ 6 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 1 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของ
คนพิการทางการศึกษา. เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๘๐ ง ราชกิจจานุเษกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐. สำนักวิชาการและ
มาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทฯ:
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2561). รายงานข้อมูลนักเรียนพิการเรียนรวม.
สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561, จากhttp://specialbasic.specialset.bopp.go.th/specialbasic/download/studentall_deform_class_2561_2.pdf
ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2551). การสร้างแบบคัดแยกเด็กปฐมวัยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางการเรียนรู้.
กรุงเทฯ: ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. .
ประจักษ์ ปฏิทัศน์. (2559). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. เอกสารประกอบการฝึกอบรม สร้างนักวิจัย
รุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา.
มติชน. (2560). นายกฯ วางกรอบงบฯ 62 เดินตามยุทธศาสตร์ชาติ ย้ำ ศธ. แก้ปัญหาอ่านออก เขียนได้ให้ชัดเจน. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2560, จาก
https://www.matichon.co.th/news/631832
ศรียา นิยมธรรม. (2538). คู่มือการใช้แบบคัดแยกเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมาคมอนุบาลแห่งประเทศไทย. (2560). เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2560, จาก https://th-
th.facebook.com/SamakomAnuban/posts/166626080175646
สิริลักษณ์ โปร่งสันเทียะ. (2550). การพัฒนาโปรแกรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการ
เรียนรู้. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
Community User. (2019). What RIT is used to determine the goal area ranges like Lo, LoAvg?. Retrieved March 5, 2019. From
https://community.nwea.org/docs/DOC-2130
National Center on Response to Intervention. (2019). Screening Briefs Series :
Brief #2: Cut Scores. Retrieved March 5, 2019. from https://rti4success.org/sites/default/files/RTI%20Screening%20Brief2-
Cut%20Scores.pdf raisingchildren. (2019). Early intervention for children with disability. Retrieved January 5, 2019. From
https://raisingchildren.net.au/disability/services-support/services/early-intervention research. (2019). research tool. Retrieved April 5, 2019.
From http://naiyatip- research.blogspot.com/p/research-tools.html
The Understood Team. (2017). Dyscalculia Signs and Symptoms. Retrieve 27 October 2017. From https://www.understood.org/en/learning-
attention-issues/child-learning-disabilities/dyscalculia/understanding-dyscalculia

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020