การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอน ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา The Current Instructional Practices and Problems of Providing Instruction of Instructors at Burapha University

ผู้แต่ง

  • รศ.ดร.วิชิต สุรัตน์เรืองชัย
  • รศ.ดร.ฉลอง ทับศรี
  • รศ.ลัดดา ศุขปรีดี
  • ผศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร
  • ผศ.ดร.อนงค์ วิเศษณ์สุวรรณ
  • ผศ.สุจินดา ม่วงมี
  • ดร.ปริญญา ทองสอน
  • ดร.อาพันธ์ชนิต เจนจิต
  • ผศ.ดร.ระพินทร์ ฉายวิมล

คำสำคัญ:

ปัญหาการจัดการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอน ปัญหาการจัดการเรียนการสอน และความต้องการในการพัฒนาการเรียนการสอนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา ตามความคิดเห็นของคณาจารย์และนิสิตโดยจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิธีดำเนินการวิจัยใช้การสำรวจข้อมูลและการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจข้อมูล ได้แก่ คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 300 คน ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling)และนิสิตระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2546 จำนวน 2,000 คน ได้จากการสุ่มแบบสัดส่วน (Quota Sampling) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำ Focus Group ได้แก่ คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยบูรพา 45 คน และนิสิตระดับปริญญาตรีภาคปกติของมหาวิทยาลัยบูรพา45 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ด้านสภาพการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา คณาจารย์มีความคิดเห็นว่ามีการจัดทำประมวลการสอนครบทุกวิชา ใช้วิธีสอนแบบบรรยายมากที่สุด พฤติกรรมการสอนของคณาจารย์อยู่ในระดับดีมากรับผิดชอบคาบการสอนครบถ้วน มีการใช้สื่อการสอนสม่ำเสมอ วัดและประเมินผลโดยเน้นเนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนรู้ มีการปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ ส่วนนิสิตมีความคิดเห็นว่า วิธีสอนที่คณาจารย์ใช้มากที่สุดได้แก่ การสอนแบบบรรยาย พฤติกรรมการสอนของคณาจารย์อยู่ในระดับดีปานกลาง พฤติกรรมการสอนที่คณาจารย์ปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การมอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มีการใช้สื่อการสอนสม่ำเสมอ และมีการวัดประเมินผลการเรียนโดยเน้นการวัดเนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนรู้ด้วยแบบทดสอบมากที่สุด

2. ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา คณาจารย์มีความคิดเห็นว่า ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่พบมากที่สุด ได้แก่ ไม่มีเวลาเตรียมการสอนเนื่องจากภาระงานสอนและงานอื่น ๆ มากเกินไป นิสิตไม่มีความพร้อม ขาดความมุ่งมั่นในการเรียน ขาดความรับผิดชอบ ขาดความอดทน ขาดระเบียบวินัย ไม่กล้าแสดงออก ไม่ตรงต่อเวลา พื้นฐานไม่ดี อุปกรณ์การสอนประจำห้องเรียนไม่เพียงพอ จำนวนนิสิตในชั้นเรียนมากเกินไป ทำให้การวัดและประเมินผลทำได้ยาก และไม่มีเวลาปรับปรุงการสอนเนื่องจากภาระงานสอนมากส่วนนิสิตมีความคิดเห็นว่าปัญหาการดำเนินการสอนที่พบมากที่สุด ได้แก่ อาจารย์ขาดเทคนิคการสอน ขาดกิจกรรมการปฏิบัติ เน้นการบรรยายมากเกินไป อธิบายไม่ชัดเจน การใช้แผ่นโปร่งใสของอาจารย์ตัวหนังสือเล็กมองไม่ค่อยเห็น เปลี่ยนแผ่นโปร่งใสเร็วเกินไป เครื่องฉายไม่มีคุณภาพ ไม่มีการวัดและประเมินผลเป็นระยะ วัดและประเมินผลความจำมากกว่าการนำไปใช้และข้อสอบยากเกินไป

3. ความต้องการพัฒนาการเรียนการสอนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา คณาจารย์ต้องการได้รับการพัฒนาตนเองในด้านการจัดการเรียนการสอนมากที่สุด ในเรื่องต่อไปนี้ คือ รูปแบบและเทคนิคการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้วิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการช่วงเวลา 3-5 วัน ณ สถานที่ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา ส่วนนิสิตต้องการให้คณาจารย์เตรียมการสอนล่วงหน้าและเข้าสอนให้ตรงเวลา สอนให้สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อหน่าย ใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย น่าสนใจ วัดและประเมินผลเป็นระยะสม่ำเสมอเพื่อพัฒนานิสิต และปรับปรุงเนื้อหาวิชาที่สอนให้ทันสมัยอยู่เสมอ

 

The study aimed to investigate the current instructional practices, problems, of instruction and the needs for instruction improvement of instructors at Burapha University according to instructors and students perception. The survey and focus group approach were used for data collection. The sample in the study were from three main academics area, They were : Humanity and Social Science, Science and Technology, and Health Science area, comprised of 300 instructors selected by mean of stratified random sampling, and 2000 undergraduate full time students in the academic year of 2003 selected by quota sampling method. The sample used for the focus group were 45 instructors and 45 students, purposively selected. The statistics for the data analysis were percentage and content analysis. The results of the study were :

1. Concerning current instructional practices as viewed by the instructors themselves, it was indicated that they have prepared course syllabus for all the course they taught. The instruction method they used the most is lecturing. They rated their teaching performance at a very good level. Instructors thought they have well covered all their instruction periods. They have regularly utilized instructional media during the instruction. The evaluation was based on both the content and the learning process. They have regularly adjusted their instruction. On the other hand, students viewed their instructor’s instruction that the instructional method their instructor used the most is the lecturing method. The instructor’s teaching performance was rated as moderate. The instruction activity that the instructors used the most isreporting assignment. The instructor’s regularly used instructional media during instruction. The evaluation was base on both content and learning process using test items.

2. Concerning current instructional practices as viewed by the instructors, The most problem is shortage of time to prepare for instruction due to overloading in teaching load and other assignments. Other problems are; students are not self-prepared nor self-motivated, lack of responsibility, lack of determination, lack of discipline, withdrawal, unpunctual, lack of academic foundation, inadequate classroom facilities, too clouded classroom(which lead to difficulty in evaluation) and no workload adjustment. While students viewed the most problem of the instruction as the lack of instructional technique, lack of practical activity, too much emphasis on learning, not having clear explanation, the letters written in overhead transparency are too small, turning the transparency too soon, low quality projector, lack of periodically evaluation, the evaluation is more on memorization rather than the application and the tests item are too far difficult.

3. For the needs for their instructional improvement, it was found that the instructors need to improve themselves on model and instructional technique for learner-centered. It was suggested than a 3-5 days work shop at the university is most appropriate. For students, They need their instructors to prepare the instruction in advance and get in the class on time. They expect the enjoyable instruction, not a boring class, using various interesting instructional media. The evaluation should be conducted regularly in order to help develop students and the content should be revised to be up to date.

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-06-2014

ฉบับ

บท

Original Articles