ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ของรัฐในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงพหุระดับ, ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงความสัมพันธ์ที่มุ่งศึกษา ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยการวิเคราะห์พหุระดับของการวิเคราะห์เส้นทาง (Multi - level ofPath Analysis) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียน ค้นหาปัจจัยระดับนักเรียน ระดับห้องเรียน และระดับโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนและสร้างรูปแบบเชิงสาเหตุแบบพหุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีกรอบแนวคิดและสมมติฐานการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาตัวแปรเชิงสาเหตุ 3 ระดับ ที่คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 35 โรงเรียน ประกอบด้วย นักเรียน 2,177 คน ครู อาจารย์ 68 คน และผู้บริหารโรงเรียน 35 คน รวมจำนวน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 2,280 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยใช้ตารางเลขสุ่ม สุ่มในระดับโรงเรียนและระดับห้องเรียนสำหรับในระดับนักเรียนกำหนดนักเรียนทุกคนในห้องเรียนนั้น ๆ เป็นกลุ่มตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีแบบสอบถามและแบบทดสอบจำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 11.0 และวิเคราะห์พหุระดับของการวิเคราะห์ข้อมูล 3 ระดับ ใช้โปรแกรม PRELIS 2.30 LISREL 8.30 และ 8.72

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีประสิทธิผลอยู่ในระดับสูง แต่มีความแปรปรวน

2. ปัจจัยระดับนักเรียน พบว่าพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนมีอิทธิพลทาง ตรงเชิงบวกต่อคุณธรรมจริยธรรมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบของนักเรียน โดยพฤติกรรมการเรียนพิเศษของนักเรียนมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียน มากที่สุดและมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกส่วนคุณภาพชีวิตด้านครอบครัวในเมือง ของนักเรียนมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อคุณธรรมจริยธรรมและมีอิทธิพล ทางอ้อมเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบของนักเรียน

3. ปัจจัยระดับห้องเรียน พบว่า

3.1 พฤติกรรมการสอนของครู อาจารย์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบของนักเรียนและมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน สำหรับคุณภาพการสอนของครูอาจารย์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนและการได้รับการสนับสนุนทางสังคมของครูอาจารย์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณธรรมจริยธรรมและผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียนส่วนวุฒิการศึกษาของครู อาจารย์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียน

3.2 การได้รับการสนับสนุนทางสังคมของครู อาจารย์ พฤติกรรมการสอนและวุฒิการศึกษาของครู อาจารย์ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจในงานของครูอาจารย์ ส่วนคุณภาพชีวิตด้านชีวิตในเมืองของครู อาจารย์มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมเชิงบวก

4. ปัจจัยระดับโรงเรียน พบว่า

4.1 ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนและมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบของนักเรียน โดยวุฒิการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกและทางตรงเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนส่วนพฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน

4.2 ความเป็นผู้นำทางวิชาการมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกและพฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจในงานของครู อาจารย์ โดยวุฒิการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวก

4.3 พฤติกรรมการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในการพัฒนาปรับเปลี่ยนโรงเรียนเข้ากับสภาพแวดล้อม โดยความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวก

 

This dissertation extends the research of the study related to the multi-level factors affecting the effectiveness of the government secondary schools in the Bangkok metropolis, Office of the Basic Education Commission, through Multiple Causal Analysis. Its purposes were to study the level of the school effectiveness, to investigate the students factors, the classrooms factors, and the schools factors affecting the school effectiveness, and to propose the Multiple Causal Models of the factors affecting the effectiveness of those schools. The concept and hypothesis of the research were to study the causal variables in three levels expecting to be the factors affecting the effectiveness of the government secondary schools in the Bangkok metropolis, The sample group in this research were drawn from all related people in 35 government secondary schools in the Bangkok metropolis, Office of the Basic Education Commission, including 2,177 students, 68 teachers and 35 school administrators, who were totaled 2,280 persons. All the samples were obtained from a random selection of persons from the listing table in the school and the classroom levels. For the student level, the samples were obtained from all the students in the selected classrooms. The three types of questionnaire were used as the instruments of this research. The statistical methods used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficients through programs of SPSS for Windows (Version 11.0) and Multilevel of Path Analysis through the programs of PRELIS 2.30, LISREL 8.3 and 8.72.

The research findings were as follows:

1. The effectiveness of the government secondary schools in Bangkok Metropolis, Office of the Basic Education Commission, was ranked at the high level with some variances.

2. For the student factors, the study found that: The students’ learning behavior most positively and directly affected their morals, followed by their grade point average and their ability in systematic problem solving. As for their tutorial participation behavior, it had most direct positive effects on their grade point average and an indirect positive effect on their ability in systematic problem solving. For their quality of family life in cities, it had both direct and indirect positive effects on their morals and had an indirect positive effect on their grade point average and their ability in systematic problem solving.

3. For the classroom factors, the study found that:

3.1 The teachers’ teaching behavior most positively and directly affected the students’ grade point average and their ability in systematic problem solving. It had also an indirect positive effect on the students’ morals. For the teachers’ teaching quality, it had a direct positive effect on the students’ morals. As for the teachers’ social support, it had a direct positive effect on the students’ morals and their grade point average. For the teachers’ educational level, it had a direct positive effect on the students’ grade point average.

3.2 The teachers’social support together, their teaching behavior and their educational level most positively and directly affected their job satisfaction. For their quality of life in cities, it indicated both direct and indirect positive effects.

4. For the school factors, the study found as follows:

4.1 The administrators’ instructional leadership indicated most direct and indirect positive effects on the students’ morals and had a direct positive effect on the students’grade point average and their ability in systematic problem solving. As for their educational level, it had both direct and indirect positive effects on the students’ grade point average. For their change management behavior, it had a direct positive effect on the students’ morals.

4.2 The administrators’ instructional leadership had most direct and indirect positive effects towards the teachers’ job satisfaction, while the administrators’ change management behavior indicated a direct positive effect on it. For their educational level, it had an indirect positive effect towards their instructional leadership.

4.3 The administrators’ change management behavior most positively and directly affected their adaptation ability, followed by their instructional leadership indicating an indirect positive effect.

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-06-2014

ฉบับ

บท

Original Articles