แรงจูงใจในงานที่มีผลต่อความผูกพันในงาน ของอาสาสมัครสาธารณสุข (The Influence of Work Motivation on Work Commitment of Public Health Volunteers)
คำสำคัญ:
แรงจูงใจในงาน, ความผูกพันในงาน, อาสาสมัครสาธารณสุข, Work Motivation, Work Commitment, Public Health Volunteerบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ตรวจสอบปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในงาน ของอาสาสมัครสาธารณสุข โดยความผูกพันในงานที่ศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ค่านิยมเกี่ยวกับงาน 2) ความทุ่มเทในงาน และ 3) ความผูกพันในอาชีพ และปัจจัยที่เชื่อว่า มีความสำคัญและมีผลต่อความผูกพันในงานของอาสาสมัครสาธารณสุข คือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในงานบนพื้นฐานของความต้องการทางจิต ในที่นี้ได้แก่ ความต้องการความพึงพอใจในงาน และความต้องการความพึงพอใจในสัมพันธภาพทางสังคม รวมถึงปัจจัยตัว อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัว และด้านเครือข่ายทางสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข แห่งหนึ่งในภาคตะวันออก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุระดับแบบเชิงชั้น ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในงานด้านความต้องการ ความพึงพอใจในสัมพันธภาพทางสังคมเป็นปัจจัยพยากรณ์ที่ดีที่สุดในการทำนายความผูกพันในงานของอาสาสมัครสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 โดย มีอำนาจในการทำนายได้ถึงร้อยละ 52 ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ไม่สามารถทำนายความผันแปรของความผูกพันในงานได้
Abstract
The purpose of this study was to verify the effects of major factors on work commitment of public health volunteers. In this research, work commitment was categorized into 3 major components, including: 1) Work values; 2) Job involvement; and 3) Career commitment, and the researchers believed that the most important factor that influenced the work commitment of public health volunteers was work motivation based on psychological need motivation, including: 1) Need satisfaction at work; 2) Need Satisfaction in Relationships. Moreover, the researchers also vesifiend the effects of social factors, including: family factors and social networks. The sample of this study consistes of public health volunteers in Eastern province of Thailand. A hierarchical regression analysis was used to determine the effects of these factors on work commitment. The results showed that the need satisfaction in relationships factor, one of the work motivation, was the best predictor that significantly predicted the variation of work commitment, The power of prediction was 52 %. Other factors could not significantly predict the variation of the work commitment.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา