การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน งานศิลปหัตถกรรมโลหะ ที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรุงรัตนโกสินทร์
คำสำคัญ:
การจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน, Occupational Health Management, Work Circumstanceบทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจ ขั้นตอนที่อันตรายที่เกิดจากการทำงาน 2) เพื่อชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง (มอก.18001) 3) เพื่อวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA) ผลการศึกษาพบว่าดังนี้ ขั้นตอนที่เป็นอันตรายและการชี้บ่ง อันตรายและการประเมินความเสี่ยง มอก.18001 ก่อนและหลังใช้รูปแบบ
1. ชุมชนบ้านบุ ผลิตขันลงหิน พบว่า ขั้นตอนการหลอม ตี ก่อนใช้รูปแบบมีลักษณะอันตราย จัดอยู่ในระดับความเสี่ยงสูง คิดเป็น ร้อยละ 82.71 ของการประเมิน หลังจากใช้ รูปแบบพบว่า มีระดับความเสี่ยงยอมรับได้ คิดเป็น ร้อยละ 50.61 ของการประเมิน
2. ชุมชนบ้านบาตร ผลิตบาตรพระสงฆ์ พบว่าขั้นตอนการแล่นบาตร (เป่าแล่น) ก่อนใช้รูปแบบ มีลักษณะอันตรายจัดอยู่ในระดับความเสี่ยง สูง คิดเป็นร้อยละ 93.59 ของการประเมินหลังจากใช้รูปแบบพบว่า มีระดับความเสี่ยง ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 48.14 ของการประเมิน
3. ชุมชนบ้านเนิน ผลิตฆ้องวง พบว่า ขั้นตอนการเจียและกลึง ก่อนใช้รูปแบบมีลักษณะอันตรายจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงสูง คิดเป็นร้อยละ 85.18 ของการประเมิน หลังจากใช้รูปแบบพบว่ามีระดับความเสี่ยงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 46.91 ของการประเมิน
4. ชุมชนบ้านตีทอง ผลิตทองคำเปลว พบว่าขั้นตอนการตีทองใส่กุบ ก่อนใช้รูปแบบมีลักษณะอันตรายจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงสูง คิดเป็นร้อยละ 86.42 ของการประเมิน หลังจากใช้รูปแบบพบว่า มีระดับความเสี่ยงยอมรับได้ คิดเป็นร้อยละ 64.19 ของการประเมิน
5. ชุมชนบ้านช่างทอง ผลิตทองรูปพรรณ พบว่าขั้นตอนการหลอมทอง ก่อนใช้รูปแบบมีลักษณะอันตรายจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงสูง คิดเป็นร้อยละ 67.90 ของการประเมิน หลังจากใช้รูปแบบพบว่า มีระดับความเสี่ยงยอมรับได้ คิดเป็นร้อยละ 37.03 ของการประเมิน
Abstract
The objectives of the study were: to survey the problems of vorious methal work accepations; to analyze the data and to construct a model; and to evaluate safety occupational health and working circumstances. The study methodology was the comparison of the risk assessment from a process of production without using and with using the model (TISI.18001). The analysis was done by job safety analysis (JSA.)
The results were as follows: Ban Bu Community produces metal bowls. The process of melting and hammering metal bowls before using the model involved a high danger risk at 82.71 % and the risk reduced to 50.61 % after using the model. This level of danger was acceptable. Ban Bart Community produces monk alms - bowls. The process of blowing the bowls before using the model involved a high danger risk at 93.59 % and the risk reduced to 48.14 % after using the model. This level of danger was moduate. Ban Nern Community produces Khong Wong . The process of polishing and cutting a Khong Wong before using the model has a high danger risk at 85.18 % and has reduced to 46.91 % by using the model. This level of danger is minor. Ban Tee Thong Community produces golden leaves. The process of melting and hammering golden leaves by using the model involved a high danger risk at 86.42 % and the risk reduced to 64.19 % after using the model. This level of danger was low. Ban Chang Lor Community produces gold ornaments. The process of melting gold ornaments before using the model involved a high danger risk at 67.90 % and the risk reduced to 37.03 % after using the model. This level of danger is acceptable.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา