การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ

ผู้แต่ง

  • ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ, การพัฒนาทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์, Instructional Model for Enhancing Social Skills and Emotional Intelligence, Social Emotional Development

บทคัดย่อ

เพื่อเสริมสร้าง ทักษะทางสังคม และความสามารถทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการสร้างรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษที่พัฒนาขึ้น เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ มีการสื่อสารแสดงความคิดเห็นร่วมเรียนร่วมรู้ไปด้วยกัน ผู้เรียนฝึกทักษะ การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การฝึกควบคุมอารมณ์ ฝึกคิด และสะท้อนปัญหา และสร้างทางเลือก ในการนำเอาความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน โดยผ่านกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การจุดประกายความคิด ขั้นที่ 2 การขยาย ความคิด ขั้นที่ 3 การลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 4 การนำเสนอผลงาน ขั้นที่ 5 การสรุปและประเมินผล ขั้นที่ 6 การประยุกต์ และการนำความรู้ไปใช้

2. ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ การเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ

2.1 คะแนนเฉลี่ยความสามารถทาง ด้านทักษะทางสังคม หลังการทดลองระหว่างนักเรียนที่ มีความสามารถพิเศษ ช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.2 คะแนนเฉลี่ยความสามารถทางด้าน ความฉลาดทางอารมณ์ หลังการทดลองระหว่าง นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ช่วงชั้นที่2 กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.3 ภายหลังการเรียนรู้ผู้เรียนกลุ่ม ทดลอง มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียน การสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม และ ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษอยู่ในระดับพึงพอใจ มากที่สุดจากผลการศึกษาแสดงว่า รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ มีประสิทธิผล และมีความ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งเสริมสร้างทักษะทางสังคม และความฉลาดทางอารมณ์ และทำให้นักเรียนที่มีความสามารถ พิเศษ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีวามสามารถพิเศษ

 

Abstract

The Development of an Instructional Model for Enhancing Social Skills and Emotional Intelligence for Gifted Students in Grades 4 - 6. The purposes of this study were to create an instructional model, and to study the effectiveness of the model for enhancing social skills and emotional intelligence for the gifted in grades 4-6. The model was divided into 3 phases as follows : The 1st phase : Creating a structure of the model by synthesizing conceptual framework from various theories. Then, the instruction model was developed and assessed by 5 experts in the related areas. The 2nd phase : A pilot study was conducted with 50 gifted students. The 3rd phase: The efficiency of the instructional model was assessed by using “Randomized Control – Group Pretest Posttest Design as a research methodology. The experiment employed two groups of 25 gifted students each for six weeks. The instruments used in this study were : 1.Teacher Handbook. 2. Social Skills Test. 3. Emotional Intelligence Test, and 4). Evaluation form on student’s satisfaction of the Program.

Results of the research:

1. The instructional model for enhancing social skills and emotional intelligence for the gifted students in grades 4 to 6 was developed. This model consisted of 6 processes: 1) Igniting stage 2) Expanding the idea 3) Performing 4) Presenting 5) Summarizing and evaluating 6) Applying

2. The efficiency of the model:

2.1 The social skills of gifted students in the experimental group were higher than those in the control group after the intervention at .01 level of significance.

2.2 The emotional intelligence of students in the experimental group was higher than those in the control group after the intervention at .01 level of significance.

2.3 The feed back on satisfaction from all students in the experimental group was at the highest level.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-06-2014

ฉบับ

บท

Original Articles