รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครู ด้วย กระบวนการวิจัย ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Teachers ’ Research Competencies Development Model Using Participatory Action Research)

ผู้แต่ง

  • อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, สมรรถนะการวิจัยของครู, การวจัยแบบมีส่วนร่วม, Developing Model, Teachers’ Research competencies, Participatory action research

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครู โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการในการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครู ผู้วิจัยเลือกโรงเรียนสองคอนวิทยาคม โรงเรียนวัดคลองห้า และโรงเรียนวัดกุ่มหัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 2 เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีขั้นตอนในการวิจัย 4 ขั้นตอนดังนี้  1การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครู 2 การพัฒนารูปแบบ การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครู 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครู 4 ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครู

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ 1) ผู้เข้าอบรมมีส่วนร่วม ในการพัฒนา และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 2) ผู้เข้ารับการอบรมมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม 3) เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยประสบการณ์เดิมเพื่อสร้างความรู้ใหม่ รูปแบบมี 3 องค์ประกอบได้แก่

  1. สมรรถนะการวิจัยของครูประกอบด้วย ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติการวิจัย
  2. กระบวนการวิจัยแบบมีส่วมร่วม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่การวางแผนการปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนกลับ
  3. ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของรูปแบบ ประกอบด้วย ทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ (Constructionism) ของ Sey mour Papert ทฤษฎีการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ และทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยมีวิธีการพัฒนา คือ การอบรม และการนิเทศติดตาม

ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และเอกสารประกอบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

ผลการประเมินดัชนีความสอดคล้องด้านเนื้อหาของรูปแบบ และเอกสารประกอบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครู โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ามีดัชนีควาสอดคล้องเท่ากับ 0.90 จากการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นพบว่ามีประสิทธิภาพด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านเจตคติ และด้านการปฏิบัติการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Abstract

The objectives of this study were to develop and evaluate teachers’ research competencies development model using participatory action research. The research sample consisted of teachers in Sonkonwittayakorm school, Watlongha School, and Watkumhug School under the jurisdiction of Saraburi Educational Service Area 2. The experimental design was divided into 4 phases. The first was constructing teachers’ research competencies model using participatory action research. The second was developing this model. The third was trying out the developed model. The last phase was valuating teachers’ research competencies development model using participatory action research.

Teachers research competencies development model using participatory Action research had three important qualities : 1) the trainees participated in development and worked by them selves. 2) The trainees had relationship with their environment 3) the trainees had constructed their new learning from their previous experience. This model had three factors;

  1. Teacher’s research competencies consisted of knowledge and understanding attitude, and action research.
  2. The process of this action research consisted of three phases : i.e. planning the action Research, observing, and refection.
  3. The basic theories of this model were Sey mour Papert’s constructionism, Experiential and participatory learning by action research operating, following up and supervising.

The evaluating result of Teachers’s reseach competencies development model by experts was found at the highest level the evaluating result of the index of Item Objective congruence (IOC) between teacher’s research competencies development model and the document using in teacher’s training by the experts was found at the high level (0.9), The result of the experiment of teachers’ research competencies development model using participatory action research was found the effectiveness on teachers’ knowledge and understanding, attitude, and research operation at the 0.01 level of significance.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-06-2014

ฉบับ

บท

Original Articles