การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของ ผู้นำสตรีทางการศึกษาในภาคใต้ (A Study of Characteristic Factors of Woman Education Leaders in the South)
คำสำคัญ:
ผู้นำสตรี, ผู้นำสตรีทางการศึกษา, คุณลักษณะผู้นำบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของผู้นำสตรีทางการศึกษาในภาคใต้ และวิเคราะห์คุณลักษณะที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา กรอบแนวคิดในการวิจัยมี 2 ด้าน คือคุณลักษณะส่วนบุคคล และคุณลักษณะด้านพฤติกรรมผู้นำ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้ ปีการศึกษา 2551 กลุ่มตัวกลุ่มแรกประกอบด้วยผู้อำนวยการสถานศึกษาสตรี จำนวน 370 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (proportionate stratified sampling) อีกกลุ่มเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาสตรีที่ได้รับการพิจารณาจากเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 6 เขต โดยใช้เกณฑ์อิงกลุ่มบนพื้นฐานคุณสมบัติด้านความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา จัดเป็นผู้นำสตรีกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ กลุ่มละ 5 คน ในแต่ละเขต รวมทั้งสิ้น 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ ลักษณะของข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับแบบลิคเคิร์ท สถิติที่ใช้ในการวอเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีไกเซอร์-ไมเยอร์-ออลคิน สถิติทดสอบ Bartlett’s Test of Sphericity สถิติทดสอบที การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก ใช้การหมุนแกนแบบตั้งฉาก (Othogonal) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะของผู้นำสตรีทางการศึกษาในภาคใต้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 41 ตัวบ่งชี้ คือองค์ประกอบด้านความเป็นผู้นำแบบร่วมมือ ความเป็นผู้นำทางวิชาการ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ความเป็นผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ การพัฒนาตนเอง และบุคลิกภาพ และพบคุณลักษณะของผู้นำสตรีทางการศึกษาในภาคใต้ 12 ตัวบ่งชี้ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา
Abstract
The purposes of this research were to study the factors of characteristics of women education leaders in the South and to analyze the characteristics of those women education leaders in the mentioned region that resulted on success in school administration. The leadership characteristics covered 2 aspects of personal characteristics and leadership attributes. The population were woman school directors in basic education institutes during the academic year of 2008. The first group of sample were woman school directors who passed norm-referenced on the capability of school administration set by the six educational service area. Therefore, each group of five point scales were used. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, the Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy, Bartlett’s Test of Sphericity, t-test and exploratory factor analysis through principal component analysis with orthogonal varimax. The data analysis processed through packaged program.
The findings revealed that were 6 factors with 41 indicators of leadership characteristics of women education leaders in the South. They were collaborative leadership instructional leadership, caring thinking, transformational leadership, self-development and personality. It also showed that there were 12 indicators of characteristics of women education leaders in the mentioned region that resulted on success in school administration.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา