การพัฒนาแหล่งน้ำในภาคตะวันออกเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต: การวางรากฐานการชลประทานของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 -2453)

ผู้แต่ง

  • รองศาสตราจารย์สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์

คำสำคัญ:

การพัฒนาแหล่งน้ำ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, สมัยรัชการที่ 5, Water Resource Development, Quality of Life, Reign of King Rama V

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การพัฒนาแหล่งน้ำเป็นการพัฒนาประเทศประการหนึ่งในสมัยรัชการที่ 5 เริ่มต้นจากการขยายสายคลองต่างๆให้เชื่อมต่อกับแม่น้ำสายหลัก พร้อมทั้งมีการขุดลอกปรับปรุงคลองสายเก่าและขุดคลองสายใหม่เพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯกับหัวเมืองใกล้เคียง รวมทั้งใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์และใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชนตลอดสองฝั่งคลอง ผลที่ตามมาทำให้เกิดการขยายพื้นที่การเกษตร การขยายตัวของราคาที่ดินบริเวณสองฝั่งคลองสูงขึ้น การเกิดเป็นชุมชนใหญ่และขยายเป็นเมือง ทำให้ราษฎรมีรายได้และมีพื้นที่ทำการเกษตรเพิ่มขึ้น มีผลการจำหน่ายได้ราคาดี ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น การดำเนินการขยายคลองในขณะนั้นทำอย่างเป็นระบบ มีการจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศมาทำโครงการและทำการสำรวจสภาพปัญหาแหล่งน้ำ รวมทั้งวางแนวทางแก้ไขปรับปรุงการใช้น้ำของไทย ต่อมามีการสร้างเขื่อน ทำนบ และประตูกั้นน้ำขึ้นหลายแห่ง จากนั้นได้พัฒนากำลังคนด้านการศึกษาวิศกรรมชลประทาน โดยพระราชทานทุนเล่าเรียนให้ไปศึกษาโดยตรงจากต่างประเทศ เพื่อกลับมาพัฒนาการชลประทานสมัยใหม่ของไทย ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาสังคมและการพัฒนากำลังคนด้านการชลประทาน เพื่อการพัฒนาประเทศไปพร้อมๆกัน

Abstract

One of the main project in the Reign of King Rama V was the water resource development project. At the beginning, this project was repairing and maintaining all of the old canals. At the same time,  digging the new ones and expand to connect to the main rivers. This project was not only for water resource development, but also established for travel lines between Bangkok and around provinces nearby. More importantly, many canals were utilized for agriculture and animal husbandry. This is a great project that benefit for community especially in the daily life of people who live along the side of these canals. Regarding to this project, the area of agriculture was expanded, price of land was increased, and urban growth rapidly. Consequently, people got to higher income, had more space for doing agriculture and had a better quality of life. Canal expansion project was systematically managed in that time. Firstly there was the foreign expert employed for planning such studying problem of water usage in Thailand and water resource explorations. Moreover, the government established the department of canal. This department responded for working a modern irrigation system such as later, dam , and also weirand Watergate were built in many places. Finally, manpower in  irrigation engineering was development project became the great history and origin of Thai modern irrigation. It was a beginning of human resource development in the area of irrigation engineering. Indeed, this project was not only for the quality of life or community development, but also it was a great deal to Thai society and in turn to the national development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-06-2014

ฉบับ

บท

Original Articles