การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในชุมชนประเภทพิพิธภัณฑ์และวัด : กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

เพลินพิศ สมสกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานที่ใน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีที่มีความสำคัญ เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนประเภทพิพิธภัณฑ์และวัด เพื่อนำร่องการจัดทำฐานข้อมูลของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ประเภทพิพิธภัณฑ์และวัด ทำการศึกษาจำนวน 3 แห่ง ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ผู้มีส่วนก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ผู้รับผิดชอบบริหารจัดการ รวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาข้อมูล และลงพื้นที่สัมภาษณ์เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนา วิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
          1. พิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านวัดยาง ณ รังสี บริหารจัดการโดยคณะกรรมการชมรม มีกำนันตำบลตะลุงเป็นประธาน มีการจัดทำข้อบังคับการบริหาร มีชาวบ้านดูแลพิพิธภัณฑ์ ไม่เก็บค่าเข้าชม มีมัคคุเทศก์น้อย มีสมุดเยี่ยมชม งบประมาณสนับสนุน มาจากเงินบริจาคนักท่องเที่ยว เงินอุดหนุนจากหน่วยงานต่างๆ ไม่มีเว็บไซต์ มีป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ปัญหาและอุปสรรค คือ ขาดบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับเรือ และงบประมาณไม่เพียงพอ
          2. พิพิธภัณฑ์วัดโคกหม้อ บริหารจัดการโดยพระครูศีลสังวรวิสุทธิ์ ซึ่งอาศัยหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหาร ไม่มีบุคลากรช่วยดูแล ซึ่งดูแลโดยพระภิกษุ ไม่เก็บค่าเข้าชม งบประมาณสนับสนุนมาจากท่านพระครูศีลสังวรวิสุทธิ์ และเงินทำบุญ มีเว็บไซต์ มีเอกสารแจก ปัญหาและอุปสรรค คือ ขาดบุคลากรในการช่วยดูแล และระยะยาว ขาดผู้ที่จะรับช่วงดูแลพิพิธภัณฑ์ต่อจากท่านพระครูศีลสังวรวิสุทธิ์
          3. พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ การบริหารจัดการในรูปแบบของคณะกรรมการ โดยคณะสงฆ์วัดเชิงท่าและวัดกวิศรารามราชวรวิหารมีศิษยานุศิษย์ช่วยดูแลไม่เก็บค่าเข้าชม งบประมาณสนับสนุนมาจากเงินบริจาค การประชาสัมพันธ์ อาศัยหน่วยงานประจำจังหวัด ปัญหาและอุปสรรค คือ งบประมาณไม่เพียงพอ

Article Details

How to Cite
สมสกุล เ. (2016). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในชุมชนประเภทพิพิธภัณฑ์และวัด : กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 17(32), 31–43. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/72387
บท
Research Article

References

[1] Department of Curriculum and Instruction Development, Ministry of Education. (2002). Educational Reform of the Ministry of Education. Bangkok.

[2] Laolapha, Pramote., & Sengphol, Kangana. (2012, January – June). Development of Local Museum to Enhance Creative Education : Wat Phra Pathom Chedi Museum Nakhon Pathom Province. Silpakorn Educational Research Journal, 4(1).

[3] Office of the Basic Education Commission. (2004). Educational Administration Manual. Bangkok : Kurusapa Printing Ladphrao.

[4] Office of the Education Reform. (1999). Transcript of National Education Act BE 2542. Bangkok.

[5] Phetkamthong, Sakchai. et al. (2013). Strategic Development for Learning Resource Management of Schools under Kamphaeng Phet Primary Education Service Area Office 1 and 2. Journal of Education. Naresuan University, 15(4).

[6] Poonsin, Preeda. (2013, October – December). Community Participation in Knowledge Management of Art and Cultural. A Case Study of Wat Sommanus Community. Research and Development Journal, Suan Sunandha Rajabhat University.

[7] Tussama, Krisada. (2014, January – April). Community Participation as Part of Museum Management at Wat Si Supan. Journal of Humanities and Social Sciences. Phayao University, 2(1).