แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3

Main Article Content

วีรวัฒน์ มานนท์
ธานี เกสทอง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประเมินสมรรถนะและเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาผลการประเมินสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ขั้นตอนที่ 2 การเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 196  คน ซึ่งได้มาโดยการเปิดตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินตนเองชนิดมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่ามัชฌิมา เลขคณิต (\inline \dpi{80} \bar{X}) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ประเมินความแตกต่าง Mean difference method (MDF) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามสมรรถนะพบว่า สมรรถนะหลักพิจารณาจากสภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและสมรรถนะประจำสายงานพิจารณาจากสภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเรียงผลต่างจากมากไปน้อย จำแนกตามสมรรถนะพบว่า สมรรถนะหลัก มีผลต่างจากมากไปน้อย คือการมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีม สมรรถนะประจำสายงาน มีผลต่างจากมากไปน้อย คือ  การวิเคราะห์และสังเคราะห์ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การมีวิสัยทัศน์ การสื่อสารและจูงใจ                     

2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 มีแนวทางการดำเนินงาน คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน การศึกษาด้วยตนเอง และการสร้างเครือข่าย

 

THE GUIDELINES FOR COMPETENCY DEVELOPMENT OF SCHOOL DIRECTORS UNDER NAKHON SAWAN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE III.

The purposes of this research are to study the competency and the guidelines for competency development of school administrator under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office III. There are 2 steps of this research. The first is to study the competency of school directors under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office III. The second is to propose the guidelines for competency development of school directors under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 3. The 196 samples used in the study are the school administrators and the vice-administrators selected by stratified random sampling. The tool used to collect the data is a questionnaire with reliability coefficient equal to 0.97. Data analysis is done through Arithmetic Mean, Standard Deviation, Mean Difference Method, and Content Analysis.

The results were that 1) the competency of school administrators by the performance in core competencies of the current conditions is overall at a high level. The overall expectation is at the highest level. The core competencies identified by the differences from high to low are the focus on achievement, good service, individual development and teamwork. The differences in performance of the work from high to low are the analysis and synthesis, personnel development, vision, communication and motivation. 2) The guidelines for competency development of school directors under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office III are to be done through workshop, study tour, self-study and networking.

Article Details

How to Cite
มานนท์ ว., & เกสทอง ธ. (2013). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. Journal of Graduate Research, 4(2), 59–72. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96812
Section
Research Article