การจัดจ้างหน่วยงานภายนอกเพื่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

นาฏนรา สุโพเคน
แสนศักดิ์ ศิริพานิช
ชูตา ประโมจนีย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจในการจัดจ้างหน่วยงานภายนอก 2) ศึกษาปัญหาการจัดจ้างหน่วยงานภายนอก 3) หาแนวทางจัดจ้างหน่วยงานภายนอกเพื่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายของโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดสงขลา 5 แห่ง จำนวนทั้งหมด 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วย 4 ตอน คือตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความพึงพอใจในการจัดจ้างภายนอกของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสงขลา ตอนที่ 3 ปัญหาที่เกิดจากการใช้บริการการจัดจ้างภายนอกลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสเกลการให้คะแนน ตอนที่ 4 ปัญหา และแนวทางแก้ไข เป็นคำถามปลายเปิด การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสงขลาโดยภาพรวม เกี่ยวกับการจัดจ้างหน่วยงานภายนอก ผู้ตอบมี ความพึงพอใจ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.29 2) ปัญหาที่เกิดจากการใช้บริการการจัดจ้างหน่วยงานภายนอก อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.00 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พนักงานจัดจ้างภายนอกขาดความเข้าใจ และตระหนักในพันธกิจขององค์กร เพราะคิดว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ค่อนข้างสูง 3) แนวทางในการจัดจ้างหน่วยงานภายนอกจะต้องดำเนินการวิเคราะห์ความสำคัญของงานนั้น ๆ ต่อองค์กร องค์กรมีความสามารถในกระบวนการหรือกิจกรรมนั้นมากขนาดไหน การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานร่วมกัน ข้อตกลงในการทำสัญญาร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด การสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบพันธมิตรทางธุรกิจ กำหนดเวลาการประเมินผลการดำเนินงานของผู้รับจ้าง กำหนดเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานอย่างเหมาะสมและชัดเจน

 

THE WAY TO OUTSOURCE FOR MANAGEMENT OF PRIVATE HOSPITAL IN SONGKHLA.

abstract unavailable

Article Details

How to Cite
สุโพเคน น., ศิริพานิช แ., & ประโมจนีย์ ช. (2014). การจัดจ้างหน่วยงานภายนอกเพื่อการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสงขลา. Journal of Graduate Research, 5(1), 149–162. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96687
Section
Research Article