การเสริมสร้างให้กองทุนสวัสดิการชุมชนมีความเข้มแข็ง : จังหวัดลำพูน

Main Article Content

ปียานุช ปันยัง
สุพรชัย ศิริโวหาร
จุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เสริมสร้างให้กองทุนสวัสดิการชุมชนมีความเข้มแข็ง และศึกษาปัญหา อุปสรรคการเสริมสร้างให้กองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดลำพูนมีความเข้มแข็ง ประชากรในการศึกษาได้แก่ คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดลำพูน 27 กองทุน จำนวน 35,693 คน กำหนดขนาดตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างง่ายจำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ .965 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่เสริมสร้างให้กองทุนสวัสดิการชุมชนมีความเข้มแข็งมี 3 ปัจจัย เรียงลำดับความสัมพันธ์จากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ความรู้ความสามารถของคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ดี 2) การได้รับการสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรจากหน่วยงานของรัฐ และ 3) การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน และกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดลำพูนปี พ.ศ.2554 มีความเข้มแข็งระดับปานกลาง ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเสริมสร้างให้กองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดลำพูนมีความเข้มแข็งเรียงตามลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ผู้นำชุมชนบางส่วนยังไม่เข้าใจในหลักการวัตถุประสงค์ของกองทุนสวัสดิการชุมชน ทำให้เกิดความเห็นแก่ตัวคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงและยั่งยืนของกองทุนในอนาคต 2) กองทุนสวัสดิการชุมชนมีการซ้ำซ้อนกับกองทุนอื่นในชุมชน 3) การประสานงานระหว่างรัฐกับกองทุนสวัสดิการชุมชล่าช้า 4) สมาชิกกองทุนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของกองทุนในระดับต่ำ 5) คณะกรรการขาดความรู้ความสามารถในการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน 6) งบประมาณไม่เพียงพอต่อจัดสวัสดิการ เอกสารการเงิน เช่นใบเสร็จรับเงินมีจำนวนมากยุ่งยาก สับสน ในการเก็บเอกสาร และ 7) ขาดการประชาสัมพันธ์เพื่อขยายฐานสมาชิกผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปสรรค การเสริมสร้างให้กองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดลำพูนมีความเข้มแข็ง เรียงตามลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) กองทุนสวัสดิการชุมชนขาดที่ตั้งสำนักงานและอุปกรณ์ช่วยในการปฏิบัติงาน เช่น คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว ชัดเจนและแน่นอน 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญกับกองทุนสวัสดิการชุมชนน้อย ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อเสนอแนะการเสริมสร้างให้กองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดลำพูนมีความเข้มแข็ง เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย 1) ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกหรือประชากรในตำบลได้รับทราบหลักการ วัตถุประสงค์และความเคลื่อนไหวการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนโดยผ่านทางวิทยุชุมชน เสียงตามสายของเทศบาลหรือชุมชน และแผ่นพับ 2) ควรมีการประสานงานขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น 3) ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการชุมชนแก่คณะกรรมการบริหารและสมาชิกที่ยังไม่มีความรู้หรือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ 4) ควรให้มีการบูรณาการกองทุนสวัสดิการชุมชนร่วมกับกองทุนอื่นๆ ในชุมชน 5) ควรมีการจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์เครื่องถ่ายเอกสารมาใช้ในสำนักงานให้เพียงพอสำหรับการใช้งาน 6) ส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุนมากขึ้น 7) ควรส่งเสริมให้เยาวชนเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อช่วยในการทำงาน 8) ควรเชื่อมโยงกองทุนทุกภาคส่วนในชุมชนด้วยการสร้างเครือข่าย 9) ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนเงินงบประมาณเท่ากับรัฐบาลสัดส่วน 1:1:1 ทุกปี

 

ENHANCING THE STRENGTH OF COMMUNITY WELFARE FUND : LAMPHUN PROVINCE.

abstract unavailable

Article Details

How to Cite
ปันยัง ป., ศิริโวหาร ส., & จุลจักรวัฒน์ จ. (2014). การเสริมสร้างให้กองทุนสวัสดิการชุมชนมีความเข้มแข็ง : จังหวัดลำพูน. Journal of Graduate Research, 5(1), 103–110. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96682
Section
Research Article