การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นสถาบันการเงินชุมชน: จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นสถาบันการเงินชุมชน เป็นการวิจัยภาคสนามแบบไม่ทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ คณะกรรมการและสมาชิกสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2554 จำนวน 646 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และเกณฑ์ของ John W. Best
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นสถาบันการเงินชุมชน มี 3 ปัจจัย เรียงลำดับความสัมพันธ์จากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การสนับสนุนของภาครัฐด้านการฝึกอบรม การให้ข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และการติดตามตรวจเยี่ยม 2) การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 3) ความรู้ ความสามารถในการบริหารงานที่ดีของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับสูง และความสำเร็จในการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัเชียงใหม่ ปี พ.ศ.2554 มีระดับความสำเร็จมากที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามบางส่วนได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ เรียงลำดับความถี่จาก มากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการในการทำงานไม่เท่ากัน 2) สมาชิกขาดการจัดการวินัย ทางการเงินของตนเอง เช่น กู้เงินไปใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ 3) ระบบการทำงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนโดยให้ความสำคัญกับตัวบุคคลมากกว่าการขับเคลื่อนโดยระบบ 4) สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองขาดความรู้สึกเป็นเจ้าของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 5) ขาดการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ตอบแบบสอบถามบางส่วนได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปสรรคการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) คณะกรรมการมีการดำรงตำแหน่งตามวาระ ทำให้การทำงานขาดความต่อเนื่อง 2)ความพร้อม ศักยภาพของคณะกรรมการไม่เท่ากัน 3) สมาชิกบางคนของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของสถาบันการเงินชุมชน 4) สมาชิกบางคนยังไม่เชื่อมั่นต่อระบบการทำงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ผู้ตอบแบบสอบถามบางส่วนได้เสนอข้อแนะนำการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ควรมีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทางสื่อต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่การดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ 2) ควรพัฒนาทักษะการบริหารจัดการให้กับคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เช่น การจัดฝึกอบรม สัมมนา ดูงาน เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 3) ควรส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้แก่สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้สามารถนำภูมิปัญญามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 4) ควรส่งเสริมให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพของหมู่บ้านและชุมชนเมือง 5) ควรส่งเสริมให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แก่หมู่บ้านและชุมชนเมือง 6)ควรส่งเสริมให้เยาวชนเข้ามาเป็นสมาชิกของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเสริมสร้างวินัยการออมเงิน
THE DEVELOPMENT OF VILLAGE AND URBAN FUND TO COMMUNITY FINANCIAL INSTITUTE : CHIANGMAI PROVINCE.
abstract unavailable