การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม และ 3) ศึกษาแนวทางในการสร้างความร่วมมือกับประชาชนในการพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนตำบลสะลวง และตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับงานวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรด้วยการทดสอบ t-test และ One-way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม พบว่า ปัจจัยด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ พื้นที่ตำบล และระยะเวลาในการอยู่อาศัย มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ทั้ง 5 ปัจจัย ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม
แนวทางในการสร้างความร่วมมือกับประชาชนที่สำคัญ คือ มหาวิทยาลัยควรสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่ถึงวัตถุประสงค์ และบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัย สร้างความเข้าใจกับชุมชนในการใช้พื้นที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยโดยไม่ให้เกิดข้อขัดแย้ง และลดอคติที่ประชาชนมีต่อมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยควรมีการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน และเปิดโอกาสให้ชุมชนร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยมากขึ้น เช่น การเข้าร่วมประชุม
การจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น
PUBLIC PARTICIPATION IN AREA DEVELOPMENT OF CHIANG MAI RAJABHAT UNIVERSITY, MAERIM CENTRE, MAERIM DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE.
abstract unavailable