พฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เบญจพร ธิหลวง
วราภรณ์ ศิริสว่าง
รพีพร เทียมจันทร์

Abstract

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) ศึกษาความแตกต่างของพฤติกรรมสุขภาพระหว่างนักเรียนชาวไทยภูเขาและชาวไทยพื้นราบ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 235 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา 

ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านการบริโภคอาหารและยา, ด้านการออกกำลังกาย, ด้านการพักผ่อน, ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม, ด้านการตรวจรักษาสุขภาพ และด้านการจัดการความเครียด มีพฤติกรรมสุขภาพ โดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (\bar{\chi }  = 3.42 , S.D. = 0.31 ) ซึ่งสามารถเรียงลำดับพฤติกรรมสุขภาพจากมากไปน้อยได้ดังนี้พฤติกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูง (\bar{\chi } = 3.83 , S.D. = 0.53), พฤติกรรมการจัดการความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง  (\bar{\chi } = 3.49 , S.D. = 0.51), พฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ( \bar{\chi }= 3.49 , S.D. = 0.40), พฤติกรรมการพักผ่อนอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{\chi } = 3.36 , S.D. = 0.44), พฤติกรรมการตรวจ/รักษาสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{\chi } = 3.30 , S.D. = 0.50)และพฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง ( \bar{\chi }= 3.08 , S.D. = 0.47) 

การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ น้ำหนัก การนอนหลับพักผ่อนเฉลี่ย/วัน ประวัติและการมีโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 สำหรับการศึกษาความแตกต่างของพฤติกรรมสุขภาพระหว่างนักเรียนชาวไทยภูเขาและชาวไทยพื้นราบ พบว่า พฤติกรรมสุขภาพโดยรวม ทั้ง 6 ด้านของทั้ง 2 กลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง และไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า พฤติกรรมด้านการพักผ่อนและด้านการตรวจ/รักษาสุขภาพของนักเรียนชาวไทยภูเขาและชาวไทยพื้นราบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p <0.01

 

HEALTH BEHAVIORS OF HIGH SCHOOL STUDENT IN DOI LOR DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE.

The objectives of this study were 1) to study health behaviors of students in the high school level, 2) to study the relationship between the individual factors and health behaviors of students in high school level and 3) to study the differences of health behaviors between urban and hill tribe students in high school level in Doi Lor District, Chiang Mai Province. The sample of this study was 235 high school level students and data had collected by questionnaires and analyzed with descriptive statistics values.

The results showed that overall of health behaviors of the students in 6 aspects including the consumption of food and medicines, Exercise, Sleep/Recreation, Environmental management, Health care and stress management behaviors were in an average level. (\bar{\chi } = 3.42, S.D. = 0.31) This results could be sorted descending as follows : Environmental management behavior was at a high level. (\bar{\chi } = 3.83, S.D. = 0.53), Stress management behaviors was at a moderate level. (\bar{\chi } = 3.49, S.D. = 0.51), Food and medicine consumption behaviors was at a moderate level. (\bar{\chi } = 3.49, S.D. = 0.40), The behavior of Sleep/Recreation was at a moderate level. (\bar{\chi } = 3.36, S.D. = 0.44), Health care behaviors was at a moderate level. (\bar{\chi } = 3.30, S.D. = 0.50), and Exercise behavior was at a moderate level. (\bar{\chi } = 3.08, S.D. = 0.47), respectively. The individual factors and health behaviors of students found that individual factors such as weight, average daily sleep, history of disease were statistically correlated with the health behaviors of students at significant level at p < 0.05.

The difference of health behaviors of the urban and hilltribe students was evaluated, it was found that overall of health behaviors in the 6 aspects of both two groups were at a moderate level and there was no statistically different. However, after item investigation in each aspect, the result showed that Sleep/Recreation and Health care behaviors of the urban and hilltribe students were statistically different with significant level at p < 0.01.

Article Details

How to Cite
ธิหลวง เ., ศิริสว่าง ว., & เทียมจันทร์ ร. (2015). พฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Graduate Research, 6(1), 77–91. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96577
Section
Research Article