การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงและ การเขียนคำศัพท์ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่อูคอหลวง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่อูคอหลวง อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยก่อนและหลังการใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่อูคอหลวงกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่อูคอหลวง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่อูคอหลวง จำนวน 18 แผน รวมเวลาทั้งหมด 20 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบการออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย
จากการวิจัยในครั้งนี้ได้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่อูคอหลวงจำนวน 18 แผนการเรียนรู้ รวมเวลาทั้งหมด 20 ชั่วโมง ซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และสามารถพัฒนาทักษะการออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยของนักเรียนได้อย่างแท้จริง และผลสัมฤทธิ์การออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนโดยใช้สื่อประสม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
LEARNING MANAGEMENT BY USING MULTIMEDIA TO DEVELOP THAI VOCABULARY PRONUNCIATION AND WRITING SKILLS FOR PRATHOM SUKSA 4 STUDENTS AT MAE U KOR LUANG SCHOOL.
The purposes of this research were to construct the lesson plan by using multimedia to develop Thai vocabulary pronunciation and writing skills for Prathom suksa 4 students at Mae U Kor Luang School and to study the achievement of pronunciation and writing skill before and after using multimedia. The target group consisted of thirteen Prathom suksa 4 students in Mae U Kor Luang School, second semester of 2014 academic year.
The instruments of a study consisted of eighteen learning plans with 20 hours teaching class and a test of pronunciation and writing skill of Thai vocabulary. Data collected was analyzed by average standard deviation and presented by timetable with its description.
The findings were summarized as follows :
1) Eighteen learning plans with 20 hours of teaching class could improve reading and writing skill of all students in Prathom suksa 4 at Mae U Kor Luang School.
2) After using multimedia in class, students achieved high points in pronunciation and writing skill of Thai vocabulary.