ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

จิราภรณ์ เรืองสงคราม
รพีพร เทียมจันทร์
วราภรณ์ ศิริสว่าง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลฟ้าฮ่าม อำภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 113 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิด ของ PRECEDE PROCEED MODEL ขั้นตอนที่ 4 ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ อสม.ตำบลฟ้าฮ่าม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและทดสอบแบบ Chi–square

จากการวิจัยพบว่า ปัจจัยนำด้านข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า ประชากรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ประกอบแม่บ้านเฉลี่ย มากกว่า 11,001 บาท และระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข เป็นระยะเวลา 1 ถึง 5 ปี ปัจจัยนำด้านความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พบว่า อสม. มีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้องอยู่ในระดับดี ปัจจัยนำด้านทัศนคติกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พบว่า อสม. ทัศนคติกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี ปัจจัยเอื้อในด้านระยะเวลาการเป็น อสม. ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พบว่า อยู่ในระดับดี และในด้านทักษะการปฏิบัติงานต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี ปัจจัยเสริมในด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้อยู่ในระดับดี ด้านการได้รับการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอยู่ในระดับดี ด้านการนิเทศงานจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอยู่ในระดับดี และด้านการได้รับงบประมาณต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี ด้านพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ พบว่า พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการกับความเครียด และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการออกกำลังกาย

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำด้านข้อมูลส่วนบุคคล ด้านความรู้และด้านทัศนคติกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จากการ ศึกษาพบว่า ปัจจัยนำมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความ สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเอื้อด้านระยะเวลาการเป็น อสม. และด้านทักษะการปฏิบัติงานต่อพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ปัจจัยเสริมด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านการได้รับการฝึกอบรมจาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ด้านการนิเทศงานจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และด้านการได้รับงบประมาณ ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

Factors Related Health Promoting Behavior of Public Health Volunteers in Faham Subdistrict, Muang Chiangmai District, Chiang mai Province.

The purpose of this study was to investigate factors related to health promoting behaviors of health volunteers at Faham sub district, Mueang Chiang Mai district, Chiang Mai province. The samples were 113 health volunteers. Data was collected by using questionnaires developed by applying the concepts of PRECEDE-PROCEED Model at the fourth step including personal information, predisposing, enabling, and reinforcing factors, and health promoting behaviors of health volunteers. Data were analyzed using descriptive statistics, and the correlations were examined by using Pearson correlation and Chi–square tests.

The results showed that the health volunteers were mostly women aged 60 years or more, married, and completed primary education or lower. Most of them were housewives earning more than 11,001 baht and being a volunteer for a period of 1-5 years. The results of studying predisposing, enabling, and reinforcing factors showed that the predisposing factor, in terms of knowledge, concerning the behaviors that promote healthy volunteers, was understood correctly (80.5%), which was at a good level. In addition, it was also found that the predisposing factor, in terms of attitude and health promoting behaviors, was also at a good level. The enabling factor, in terms of duration being a healthy volunteers, which affected health promoting behaviors, was at a good level while the enabling factor, in terms of practical skill and health promoting behaviors, was also at a good level. The reinforcing factor, in terms of obtaining information and knowledge, was at a good level health worker training was at a good level supervision was at a good level as well as budget and health promoting behaviors was at a good level .Regarding health promoting behaviors, it was found that health promoting behaviors of the health volunteers were at a good level in all domains. The highest score, on average, was stress management while the lowest score was exercise.

The relationship between factors and health promoting behaviors showed that the predisposing factor, in terms of personal information, knowledge and attitudes, was significantly correlated with health promoting behaviors. The enabling factor, in terms of duration being a healthy volunteers and the operational skill of health promoting behaviors, was significantly correlated with health promoting behaviors. Regarding the reinforcing factor, in terms of obtaining information and knowledge, health worker training, supervision, and budget for health promoting behaviors, it was found that the reinforcing factor and health promoting behaviors were significantly correlated.

Article Details

How to Cite
เรืองสงคราม จ., เทียมจันทร์ ร., & ศิริสว่าง ว. (2015). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Graduate Research, 6(2), 172–183. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96560
Section
Research Article