พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขต เทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กัลยาณี อุปราสิทธิ์
ณรงค์ ณ เชียงใหม่
วันทนีย์ ชวพงค์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือน ในเขตเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครัวเรือนที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 366 ครัวเรือน  ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance)

พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยโดยภาพรวมของครัวเรือน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือน อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า พฤติกรรมด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย อยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมด้านการนำไปใช้ต่ออยู่ระดับปานกลาง และพฤติกรรมด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย อยู่ในระดับดี

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในภาพรวมของครัวเรือน พบว่า เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย และความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย ด้านการนำไปใช้ต่อ และด้านการคัดแยกขยะมูลฝอยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

HOUSEHOLD BEHAVIOR ON SOLID WASTE MANAGEMENT IN SUNPONG MUNICIPALITY, MAERIM DISTRICT, CHIANGMAI PROVINCE.

This research aims to study the household behavior on solid waste management in Sunpong municipality, Maerim District, Chiangmai Province. The factors that affected the management in household waste. The sample used in this study is households in Maerim District, Chiangmai Province, 366 households. Questionnaire was used in this study. Data were analyzed by a computer program. To find the average percentage, standard deviation, T-test, one-way analysis of variance.

The overall waste management behavior of households found that the behavior of household solid waste management was good in considering of each aspects, the behavior in reduce wasting was moderate behavior toward. The adoption in a moderate level and behavior of sorting waste was good in a level.

Factors that affected the behavior of solid waste management in overall aspects were gender, age, income per month. The information received about waste management, The knowledge about the different waste management, the behavior of household solid waste management in reducing waste, the adaptation in using and the separation of waste was statistically significant different at the 0.05 level.

Article Details

How to Cite
อุปราสิทธิ์ ก., ณ เชียงใหม่ ณ., & ชวพงค์ ว. (2015). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขต เทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Graduate Research, 6(2), 163–171. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96559
Section
Research Article