ภาษากับความมั่นคงในชีวิต : กรณีศึกษาแรงงานพม่า ในแขวงนครพิงค์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การวิจัย เรื่อง "ภาษากับความมั่นคงในชีวิต: กรณีศึกษาแรงงานพม่าในแขวงนครพิงค์อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่" ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของภาษาต่อความมั่นคงในชีวิตและสังคมของคนไทยและแรงงานชาวไทใหญ่ 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือเสริมประสบการณ์ ชุด ภาษาเพื่อความมั่นคงในชีวิต: บทเรียนภาษาไทย-ไทใหญ่ และ 3) เพื่อทดลองและหาระดับความคิดเห็นของผู้อ่านหนังสือเสริมประสบการณ์ฯ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยประยุกต์ร่วมกับวิธีการวิจัยและพัฒนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความมั่นคงในชีวิตและสังคมส่วนบุคคล หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุด ภาษาเพื่อความมั่นคงในชีวิต: บทเรียนภาษาไทย-ไทใหญ่ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านหนังสือเสริมประสบการณ์ ชุด ภาษาเพื่อความมั่นคงในชีวิต : บทเรียนภาษาไทย-ไทใหญ่ และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้อ่านที่มีต่อหนังสือเสริมประสบการณ์ โดยแบบสอบถามมีลักษณะคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประเมินความมั่นคงทางสังคมของกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบประเมินความมั่นคงในชีวิตและสังคมส่วนบุคคล และสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายถึงความต้องการที่จะพัฒนาภาษา และเรื่องราวที่ต้องการเรียนรู้เพื่อการดำรงชีพ ระยะที่ 2 เป็นการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดภาษาเพื่อความมั่นคงในชีวิต: บทเรียนภาษาไทย-ไทใหญ่ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหนังสือเสริมประสบการณ์และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางความเข้าใจในการอ่านหนังสือเสริมประสบการณ์ที่ผู้วิจัยสร้าง และ ระยะที่ 3 นำหนังสือประสบการณ์ที่สร้างแล้วเสร็จไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ระดับความมั่นคงในชีวิตและสังคม วิเคราะห์หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 ด้วยสูตร E1/E2 และวิเคราะห์หาระดับความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อ หนังเสริมประสบการณ์ ด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาบทบาทของภาษาต่อความมั่นคงในชีวิตและสังคมนั้น กลุ่มเป้าหมายชาวไทย เห็นว่า ภาษามีบทบาทต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.83) เช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมายชาวไทใหญ่ที่เห็นว่า ภาษามีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการ สื่อสารในชีวิตประจำวัน ในระดับมากที่สุด ( = 4.78) เช่นกัน นอกจากนี้ทั้ง 2 กลุ่ม ยังเห็นพ้องกัน ว่าภาษามีบทบาทช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคงในการเข้ารับบริการต่างๆ และทำให้เข้าใจวัฒนธรรม ของเจ้าของภาษามากขึ้น ( = 4.6 และ = 4.69) ส่วนผลการทดลองใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดภาษาเพื่อความมั่นคงในชีวิต : บทเรียนภาษาไทย-ไทใหญ่ กับกลุ่มเป้าหมายชาวไทใหญ่ พบว่า มีประสิทธิภาพกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 87.80/86.67 ส่วนกลุ่มเป้าหมายชาวไทย ได้ประสิทธิภาพกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 90.93/89.19 สำหรับผลจากการประเมิน ความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายต่อหนังสือเสริมประสบการณ์ฯ พบว่า กลุ่มเป้าหมายชาวไทใหญ่ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก (= 4.91) ในขณะที่กลุ่มเป้าหมายชาวไทย มีระดับความคิดเห็นอยู่ ในระดับดี ( = 4.43)
LANGUAGE AND LIFE SEQULITY: A CASE STUDY OF MYANMAR WORKFORCE IN NAKHONPING AREA, MUANG DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE.
The research on “ Language and Life Security: A Case Study of Mynmar Workforce in Nakhonping Area, Muang District, Chiang Mai Province aimed to study 1) the roles of language towards life security of the Mynmar workforce (Tai Yai) and Thai people in Nakhonping area, Muang district, Chiang Mai province. 2) to construct a supplementary book on Language and Security: Thai-Tai Yai Languages for Thai people and Tai Yai workforce in Nakhonping area, Muang district, Chiang Mai province. 3) to study the effectiveness of the book on life security of these workforces. The applied research method and the participatory action research method were used for the research methodology.
The research tools are the constructed supplementary book, the rating scale questionnaire for the opinion towards the supplementary book, the multiple-choice reading achievement test, and the rating scale questionnaire on the life security for personnel. The data collection was divided in to 3 phases: 1) the pre-data collection (studying relevant documents, gathering information lead to research tool construction), 2) the tool construction (the supplementary book, the test, and the questionnaires), and 3) the third phase (the experiment of the supplementary book and the data analysis which using the basic statistical value to analyze the data, mean and the standard deviation.
The findings were that both Thai sample group and Tai Yai sample group agreed that the roles of the language towards everyday life and life security is in “the highest” ( = 4.83) and ( = 4.78). Moreover both groups are certainly think that the language is also the most necessary towards their service receiving and culture understanding ( = 4.63 and x = 4.69) ; the effectiveness of the supplementary book of the Tai Yai group is (E1 / E2 ) 87.80 / 86.67, while of the Thai people is (E1 / E2 ) 90.93 / 89.19; the opinion of the Tai Yai group towards the book was in the excellent level ( = 4.91), while of the Thai group is in the good level ( = 4.43).