ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความสุขของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับความสุขของครูผู้สอน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความสุขของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสอบถามภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาและแบบสอบถามความสุขของครูผู้สอน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .21 - .71 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ 0.94 และความสุขของครูผู้สอนเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ( = 4.45) ระดับความสุขของครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก (
= 4.45) 3) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี โดยด้านความรักในงาน, ด้านการเป็นที่ยอมรับ, ด้านการติดต่อสัมพันธ์, ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน และด้านความสำเร็จในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ไกรศร รักสวน. (2559). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ
ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2556). Happy Workplace index ดัชนีสุขภาวะองค์กร. กรุงเทพฯ: ศูนย์องค์กรสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส).
ชญานิษฎ์ ชัยเชียงพิณ, วันทนา อมตาริยกุล และนวัตกร หอมสิน. (2562). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่องค์การของครูที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 10. วารสารบัณฑิตวิจัย, 1(10), 115-135.
ชินกร น้อยยางคำ และปภาดา น้อยยางคำ. (2553). รายงานผลการวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความสุขในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานงานหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
ทัศนีย์ พงษ์สุพรรณ. (2561). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุขของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).
ทิพย์สิริ กาญจนวาสี และศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: ทรีบีการพิมพ์ และตรายาง.
ธานิชา มูลอามาตย์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา).
ธาราดล มูลอัต. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับขวัญและกำลังใจการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 1.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).
ธารินทร์ ระศร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).
ธิราภรณ์ พันหล่อมโส. (2559). ปัจจัยความสุขของครูผู้สอนที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).
นนธวัฒน์ โปชะดา. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา. สืบค้นจาก http://bkk.umdc.tsu.ac.th/transitory/IS/isManage57.asp?Page=4
นฤมล แสวงผล. (2554). ปัจจัยส่งผลต่อความสุขของบุคลากร คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
นิรันดร์ เนตรภัคดี. (2553). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาชั้นประถมในประเทศไทย: ในทัศนคติของครู. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 78-83.
นิษวัน วรานุสาสน์. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสุจริต. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร).
เบญจพร ก้องพิบูรณ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน
จังหวัดสุราษฏ์ธานี. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(2), 151-160.
ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร. (2556). สาเหตุการลาออกยอดนิยม. สืบค้นจาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=hrman&month=12-2011& date=29 & group=1&gblog=386
ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะงานความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคกับความสุขในการทำงานของพยาบาลงานพยาบาลผ่าตัด: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ปราโมทย์ เทพกูล. (2554). จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาตามความคิดเห็นของครูในจังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม).
ภัคพิยาพร คำบัว. (2560). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).
มณเฑียร พิมพ์ไกร. (2551). การดำเนินการพัฒนากิจกรรมสงเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านเตยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชา
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
เมธาพร ผังลักษณ์. (2559). ความสุขในการทำงานของครูในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา).
รวมศิริ เมนะโพธิ. (2552). เครื่องมือการวัดการทำงานอย่างมีความสุข กรณีศึกษานักศึกษาภาคพิเศษระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
วาสนา ไชยศาสตร์, พนายุทธ เชยบาล และพงษ์นิมิต พงษ์ภิญโญ. (2562). คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองคาย. วารสารบัณฑิตวิจัย, 2(10), 175-194.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). การวิเคราะห์พหุระดับ: Muti-level Analysis. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เศรษฐ์ คุณทาบุตร. (2556). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).
สลิลทิพย์ ชูชาติ. (2556). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ: Happy คนทำงานมีความสุข ที่ทำงานน่าอยู่ ชุมชนสมานฉันท์. กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานเขต.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). แนวการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อสร้างสำนึกความเป็นไทย.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สิทธิพร กล้าแข็ง. (2559). งานสร้างสรรค์ของทีมสร้างสุข. สรรสาระองค์กรแห่งความสุข เล่ม 5. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
สิรินทร แซ่ฉั่ว. (2553). ความสุขในการทำงานของบุคลลากรเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสื่อและกลุ่มงานสร้างสรรค์เพื่อการใช้งาน. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
สุกมล วิภาวีพลกุล. (2556). คู่มือ Counselor เรื่องการช่วยเหลือผู้มีแนวโน้มฆ่าตัวตาย. เชียงใหม่: กิตติ การพิมพ์
สุธาสินี แม้นญาติ. (2554). โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นะเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2553). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(6), 5-8.
อมรินทร์ ฤทัยคงถาวร. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมกับความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมป์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษาแนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Henry, K. (2009). Leading with your soul: The comprehensive ethical leadership model™ shows you how to create an ethical workplace that will lead to sustainability for your company. In Proceedings of the ethics is a topic at IMA’s annual conference: Strategic Finance, 3, 41-51. Chicago: North Park University.
Herzberg, F. (1993). A harvard business review paperback: Motivation. Massachusetts: Harvard Business School.
Kjerulf, A. (2007). Praise for Happy hour is 9 to 5. Retrieved from http://positivesharing.com/happyhouris9to5/bookhtml/happyhouris9to54.html
Manion, J. (2003). Joy at work. Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.
Moorhouse, J. (2002). Comparative analysis of leadership perceptions: Study in USA. Indiana, U.S.A: Prentice-Hall.
Mowbray, D. (2009). Code of conduct for ethical leadership a discussion document. Retrieved from www.derekmowbray.co.uk
Northouse, P. G. (2013). Leadership: theory and practice. (6th ed). London: Western Michigan University. Washington DC United States of America.
Prince, J.L. & Tumlin. (2009). An interdisciplinary major in ethical leadership studies:Rationale, challenges, and template for building an adaptable program. International Leadership Journal, 2(1), 91-128.
Warr, P. (2007). Work, happiness and unhappiness. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Wesarat, P. O., Sharif, M. Y., & Majid, A. H. A. (2015). A conceptual framework of happiness at the workplace. Asian Social Science, 11(2), 78-88.
Zinsmeister, D. (2009). Leadership, ethics and character: Foundations for transformation. Retrieved from http://www.kennesaw.edu/siegelinstitute/