The Development of Paradigms, Model and Mechanisms for an Area-Based Teacher Development: Faculty of Engineering at Rajamangala University of Technology Lanna

Main Article Content

ไกรลาศ ดอนชัย
ปาริชาติ บัวเจริญ
นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล
ปวันรัตน์ บัวเจริญ

Abstract

การพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่: กรณีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพ
พึงประสงค์ของการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 2) พัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ และ 3) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายกระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ ผู้ให้ข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สถาบันผลิตครู และสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบเก็บรวบรวมข้อมูลสถาบันผลิตครู 2) แบบเก็บรวบรวมข้อมูลสถานศึกษา 3) แบบสอบถามสถาบันผลิตครู และ 4) แบบสอบถามสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ ด้านกระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครู ตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องจากสถาบันผลิตครูและจากสถานศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบัน ครูได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาอยู่ในระดับน้อย สำหรับความพึงประสงค์ของการพัฒนาครู พบว่ามีความต้องการพัฒนาอยู่ในระดับมาก
2. การพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ ที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาตามประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งพัฒนา
2.1 กระบวนทัศน์ และแนวทางการใช้กระบวนทัศน์การพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ ได้แก่ การพัฒนาครูที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสถานศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และชุมชน โดยครูสามารถนำความรู้และทักษะพัฒนาสถานศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และชุมชนได้ การพัฒนาครูที่สามารถสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพครูได้ การพัฒนาครูที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการสื่อสาร และดิจิทัลแพลตฟอร์มในการอบรมโดยที่ครูไม่ต้องเดินทางไป และหน่วยงานที่กำกับหรือองค์กรวิชาชีพจะเป็นหน่วยงานที่กำหนดแนวทางทั้งทางด้านเนื้อหาและสมรรถนะในการฝึกอบรม
2.2 รูปแบบ และแนวทางการใช้รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ ได้แก่
การพัฒนาครูโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติงานจริง (Hand’s on) โดยมอบหมายงานเป็นโครงการ (Project-Based Learning) การเรียนรู้โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) โดยสามารถสร้างความก้าวหน้าทางวิชาชีพครูได้ และการเรียนรู้โดยหน่วยงานภายนอกที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาครูให้มีสมรรถนะสูงขึ้น
2.3 กลไก และแนวทางการใช้กลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ ได้แก่ สถานศึกษาควรมีบทบาทในการส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง โดยมีความร่วมมือจากสถาบันเอกชน และต้นสังกัดของสถานศึกษา และสถาบันผลิตครูควรพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานให้ก้าวหน้าประกอบกับพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถฝึกอบรมให้สถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ข้อเสนอเชิงนโยบายกระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ กรณีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
3.1 ด้านกระบวนทัศน์การพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ มีข้อเสนอสำหรับหน่วยนโยบายด้านการพัฒนาครู เช่น คุรุพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรกำหนดนโยบายการพัฒนาครู
ตามภาคอุตสาหกรรม และชุมชน รวมทั้งสามารถสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพครูได้ สำหรับสถาบันผลิตครู ควรออกแบบการพัฒนาครูด้านหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพความก้าวหน้าของครูให้เหมาะสมกับหน่วยงานที่กำกับหรือองค์กรวิชาชีพ
3.2 ด้านรูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ มีข้อเสนอสำหรับหน่วยนโยบาย
ด้านการพัฒนาครู เช่น คุรุพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรกำหนดรูปแบบการพัฒนาครูที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง ให้สามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ สำหรับสถานศึกษาควรมีความร่วมมือระหว่างสถาบันผลิตครู สถานศึกษาในเครือข่าย รวมทั้งภาคเอกชนในการจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน
เพื่อพัฒนาครูในชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้มีสมรรถนะสูงยิ่งขึ้น ทั้งด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ
3.3 ด้านกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ มีข้อเสนอสำหรับสถานศึกษาควรให้ครูได้มีบทบาทในการเลือกและกำหนดหลักสูตรในการพัฒนาตนเอง และควรมีความร่วมมือจากเอกชนในการพัฒนาหลักสูตร สำหรับกระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดบทบาทให้สถาบันผลิตครูได้มีบทบาทในการพัฒนาครู
ในสถานศึกษามากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาร่วมกัน

Article Details

How to Cite
ดอนชัย ไ., บัวเจริญ ป., เตชะพันธ์รัตนกุล น., & บัวเจริญ ป. (2019). The Development of Paradigms, Model and Mechanisms for an Area-Based Teacher Development:: Faculty of Engineering at Rajamangala University of Technology Lanna. Journal of Graduate Research, 10(1), 1–21. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/182123
Section
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

มนตรี แย้มกสิกร. (2560). กระบวนทัศน์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาครูในระบบและรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2560). แนวทางการพัฒนาครูแบบเครือข่ายเชิงพื้นที่โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น ใน ระบบและรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานผลการศึกษาสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). ระบบและรูปแบบการผลิตครูและระบบวิจัยของสถาบันผลิตครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). กลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.